การพัฒนาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านยาสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ ในจังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • วนิชา สุประดิษฐอาภรณ์ กระทรวงสาธารณสุข 0009-0009-9880-8545

คำสำคัญ:

ระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านยา, ระบบเติมยา, หน่วยบริการปฐมภูมิ, Medication Supply Chain Management System, Medication Refilling System, Primary Care Unit

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านยา (Medication Supply Chain Management System) สำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิในจังหวัดอุทัยธานีและศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านยาสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิในจังหวัดอุทัยธานี โดยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ร่วมกับรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือนกันยายน 2563 - เดือนกันยายน 2565 ศึกษาในโรงพยาบาลแม่ข่าย จำนวน 8 แห่งและหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 92 แห่ง แบ่งการศึกษาวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ผลการศึกษา: ระยะที่ 1 เกิดระบบการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลแม่ข่ายกับหน่วยบริการปฐมภูมิด้วยระบบฐานข้อมูลออนไลน์ HDC กับระบบปฏิบัติการ HOSxP PCU ในการเชื่อมโยงข้อมูลการใช้ยาและคงคลังของหน่วยบริการปฐมภูมิให้เป็นปัจจุบัน เพื่อโรงพยาบาลแม่ข่ายสามารถบริหารจัดการเติมยาให้กับหน่วยบริการปฐมภูมิ แต่ยังพบปัญหาในการดำเนินงาน จึงมีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะที่ 2 ผลการศึกษาระยะที่ 2 เกิดระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านยาสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิรูปแบบใหม่ โดยพัฒนาโปรแกรมสรรพยาดีเอ็มเอส อุทัยธานี (Sapphaya DMS-Uthaithani Program) ร่วมกับระบบเติมยา (Medication Refilling System) เพื่อให้การบริหารจัดการระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านยาสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านยาสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนาพบว่าสามารถลดระยะเวลาการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยบริการปฐมภูมิได้ 439.17 นาที (51.70%) (P<0.001) และลดอัตราสำรองยาได้ 0.92 (42.56%) (P=0.015) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ลดมูลค่าการเบิกจ่ายยาของหน่วยบริการปฐมภูมิจากโรงพยาบาลแม่ข่ายคิดเป็น จำนวนเงิน 91,100.14 บาท (0.52%) (P=0.923) และลดขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ 7.25 + 2.71 (12.12%) (P=0.153) จากการอภิปรายกลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกมีความสอดคล้องกันโดยพบว่า เป็นการพัฒนาระบบที่สามารถช่วยลดภาระงานของบุคลากรของหน่วยบริการปฐมภูมิได้ สรุป: เกิดระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิในจังหวัดอุทัยธานีใหม่ที่ใช้โปรแกรมสรรพยาดีเอ็มเอส อุทัยธานีร่วมกับระบบเติมยา ที่สามารถเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงานระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านยาสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิได้ ข้อเสนอแนะ: การศึกษาครั้งต่อไปควรพิจารณาเรื่องการพัฒนาเครื่องมือที่สามารถใช้เชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องเป็นปัจจุบัน การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และอาจพิจารณาศึกษาให้ครอบคลุมถึงการลดลงของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน

Abstract

            This study aimed to study the development of medication supply chain management system for primary care unit in Uthaithani and the effectiveness of the development of medication supply chain management system for primary care unit in Uthaithani. The action research and the mixed method was used for this research methodology. This study began in September 2020 through September 2022 at the 8 hospitals and 92 primary care units in Uthaithani. There were 2 phases of this study. Results: The first phase, the system of connection between medical warehouse of the hospital, HDC Data Center and HOSxP PCU of primary care unit for linking the medication data were contributed. It was used for approved the development of medication supply chain management system for primary care unit. However, there were some troubles for worker and the system was not enough supported working. Thus, the development was continued in the next phase to solve the problems. The second phase, the Sapphaya DMS-Uthaithani Program with medication refilling system were developed for promoted the efficiency of the medication supply chain management system for primary care unit. Along the downstream this system development, it was found that decreasing of the operation period of the personnels in primary care unit was showed 439.17 minutes (51.70%) (P < 0.001), decreasing of medication reserved rate was showed 0.92 (42.56%) (P=0.015) with statistical significance, decreasing of the medication supply value from the hospital to the primary care unit was showed 91,100.14 baht (0.52%) (P=0.923) and decreasing the number of operating procedures was showed 7.25 + 2.71 (12.12%) (P=0.153) when compared with year 2020 before. In addition, the result from the focus group discussion and the in-depth interview was showed that this developing of medication supply chain management system for primary care unit could contributed the operation period of the personnels in primary care unit. In conclusion, the new system, the medication supply chain management system for primary care unit with the Sapphaya DMS-Uthaithani Program and medication refilling system were produced and presented the increasing of the efficiency in the medication supply chain management system for primary care. Suggestion, the next studies should be considerate in developing of instrument which can link and analyze the correct data at present, developing of technology information. And it should be considerate about decreasing of the operation cost.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-10