ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาสมุนไพร ในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดภูเก็ต
บทคัดย่อ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาสมุนไพร ในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดภูเก็ต
Factors related to the use of Herbal Medicine in Primary Care Units in Phuket Province
พุทธชาด สังข์ประพันธ์1
Pudtachad Sangprapun1
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปทางประชากร ความรู้
ความคิดเห็น การสั่งใช้ยาสมุนไพร และความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปทางประชากร ความรู้ และความคิดเห็นในการสั่งใช้ยาสมุนไพรกับการสั่งใช้ยาสมุนไพรของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 112 ตัวอย่าง ศึกษาวิจัยในช่วงเดือน มกราคม ถึง มิถุนายน 2566 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านสถิติโดยใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ทางสถิติใช้ Chi-square Test Statistic : c2 , Fisher Exact test, Pearson’s Product Moment Correlation และcontent analysis ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 72.3 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 34.8 สถานภาพสมรสโสด ร้อยละ 43.7 เป็นนักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 38.4 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 86.6 ประสบการณ์การทำงานอยู่ในช่วง 6-15 ปี ร้อยละ 32.1 รายได้ต่อเดือน มากกว่า 25,000 บาท ร้อยละ 42.9 ส่วนใหญ่มีการสั่งจ่ายยาสมุนไพรบางโอกาส ร้อยละ 58.9 รายการยาสมุนไพรที่ใช้บ่อย 3 อันดับแรกคือ ฟ้าทะลายโจรแคปซูล ยาน้ำแก้ไอมะขามป้อม ยาอมแก้ไอมะแว้ง ร้อยละ 67.0, 61.1 และ 52.7 ตามลำดับ อาการป่วยของผู้ที่มารับบริการ 3 อันดับแรกที่บุคลากรสาธารณสุขสั่งใช้ยาสมุนไพร คือ ไข้หวัด, ไอ มีเสมหะ และท้องอืดท้องเฟ้อ ร้อยละ 73.2, 66.1 และ 47.3 ตามลำดับ ระดับความรู้โดยรวมในการสั่งใช้ยาสมุนไพรในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.3 ความคิดเห็นในการสั่งใช้ยาสมุนไพรของบุคลากรสาธารณสุขในภาพรวม ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.9 วิชาชีพ และประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์กับการสั่งจ่ายยาสมุนไพร ในหน่วยบริการปฐมภูมิจังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (a <0.05) กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้สั่งใช้ยาสมุนไพรควรมีช่องทางและศูนย์เรียนรู้ของแพทย์ แผนไทยร่วมกับภูมิปัญญาของชาวบ้านในชุมชน ส่วนในสถานบริการ ควรมีการส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการแพทย์แผนไทย ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการสั่งใช้ยาสมุนไพร คือหน่วยบริการไม่มีแพทย์แผนไทย และเจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการใช้ยาสมุนไพร ยาสมุนไพรต้นทุนสูง หมดอายุเร็ว และขาดการส่งเสริมอย่างจริงจังจากผู้เกี่ยวข้อง ควรมีการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรทั้งในทุกหน่วยบริการ จากผลการวิจัยควรส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการใช้สมุนไพรแก่บุคลากร จัดให้มีแพทย์แผนไทยทุกหน่วยบริการในระดับปฐมภูมิ และจัดทำแนวทางปฏิบัติเรื่องการใช้ยาสมุนไพร และรายการยาสมุนไพรให้เพียงพอและครอบคลุมอาการป่วยของผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดการสั่งใช้ยามากขึ้น
คำสำคัญ: ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง, ยาสมุนไพร, หน่วยบริการปฐมภูมิ
_________________________
1เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต
1Pharmacist, Professional Level , Division of Consumer Protection and Public Health Pharmacy,
Phuket Provincial Public Health Office E-mail : pud063@yahoo.com
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว