ผลการพัฒนาระบบการจัดการเชื้อดื้อยาอย่างบูรณาการ โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • วรางคณา วัลลา กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำพูน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการเชื้อดื้อยาอย่างบูรณาการในโรงพยาบาลลำพูน  เพื่อลดอัตราเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด ลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพ (Defined Daily Doses Per 100 Patient Days : DDD/100 วันนอน) ลดมูลค่าการใช้ยาต้านจุลชีพ และเพิ่มความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาต้านจุลชีพ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาระยะยาว ด้วยการทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลลำพูนในช่วงปีงบประมาณ 2564 – 2566 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า อัตราเชื้อดื้อยาในกระแสเลือดในปี 2566 ลดลงจากปี 2565 และ 2564 คิดเป็นร้อยละ 18.9, ความถี่ต่อแสนประชากรพบ 655.4/แสนประชากร และไม่พบเชื้อดื้อยา Pseudomonas aeruginosa ที่ดื้อต่อยา Carbapenem (CRPA), Klebsiella pneumoniae/Escherichia coli ที่ดื้อต่อยา Carbapenem (K. pneumoniae/E. coli  CRE), Staphylococcus aureus ที่ดื้อต่อยา Methicillin (MRSA), Enterococci  species ที่ดื้อต่อยา Vancomycin (VRE) ในกระแสเลือด รวมถึงเชื้อดื้อยา Acinetobacter baumannii (A.B MDR) มีแนวโน้มลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2565 จาก 4,616 ต่อแสนประชากร เป็น 4,274 ต่อแสนประชากร คะแนนประเมินตนเองในการจัดการเชื้อดื้อยาอย่างบูรณาการในโรงพยาบาลลำพูน ปี 2566 ได้คะแนนประเมินรวม 463 คะแนน จากคะแนนเต็ม 500 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 92.6 (ระดับ Advance)  ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพ (DDD/100 วันนอน) และมูลค่าการใช้ยาต้านจุลชีพรวมทั้งหมด และเฉพาะยาต้าน จุลชีพที่ควบคุม 11 รายการในปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 91.82 และ 23.28 ตามลำดับ มูลค่ายาต้านจุลชีพรวม และยาต้านจุลชีพที่ควบคุม 11 รายการ เพิ่มเป็น 11,344,026.74 บาท และ 5,966,635.42 บาท ตามลำดับ ความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาพบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมมากกว่าร้อยละ 80 สำหรับปริมาณและมูลค่าการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่ลดลง จึงควรมีการประกาศใช้มาตรการควบคุมการใช้ยาต้านจุลชีพ และมาตรการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลที่เข้มแข็ง โดยผู้บริหารของโรงพยาบาล รวมถึงการสร้างทีมเครือข่ายควบคุมเชื้อดื้อยาในจังหวัด โดยมีการส่งต่อข้อมูลการดูแลผู้ป่วยเชื้อดื้อยาไปยังโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อลดเชื้อดื้อยาในชุมชน

คำสำคัญ : การจัดการเชื้อดื้อยาอย่างบูรณาการ

References

Infectious Diseases Society of America. Combating antimicrobial resistance: policy recommendations to save lives. Clinical Infectious Diseases. 2011;52(5):S397–428.

นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, ศิริตรี สุทธจิตต์, สิตานันท์ พูลผลทรัพย์, รุ่งทิพย์ ชวนชื่น, ภูษิต ประคองสาย. ภูมิทัศน์ของสถานการณ์และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย. กรุงเทพ: สํานักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.

O-Neill J. Review on antimicrobial resistance. Antimicrobial resistance: Tackling a crisis for the health and wealth of nations; 2014.

ภาณุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, อาธร ริ้วไพบูลย์, ภูษิต ประคองสาย, สุพล ลิมวัฒนานนท์. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2555;6(3):352-60.

แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560–2564 กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566]; สืบค้นได้จาก: http://narst.dmsc.moph.go.th/documentation/AMR%20strategy%202560-2564.pdf

คู่มือประเมินการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการในโรงพยาบาล (EE-AMR Tool, Thailand). [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2566]; สืบค้นได้จาก: https://amrthailand.net/ uploads/strategy/90/11_Development_of_National_Guideline_for_assessing_the_Integrated_Antimicrobial_Management_Resistance_Management_in_hospital.pdf

WHO Collaborating Centre for Drug Statistics Methodology.ATC/DDD Index. [Internet]. 2015 [cited 20 July 2023]; Available from: http://www.whocc.no/atc_ddd_index/

Sistanizad M, Kouchek M, Miri M, Goharani R, Solooki M. Carbapenem restriction and its effect on bacterial resistance in an intensive care unit of a teaching hospital. Iranian Journal of Pharmaceutical Research 2013; 12(3):503-9.

Pakyz AL, Oinonen M, Polk RE. Relationship of carbapenem restriction in 22 university teaching hospitals to carbapenem use and carbapenem-resistant Pseudomonas aeruginosa. Antimicrobial agents and chemotherapy 2009; 53(5): 1983-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article