This is an outdated version published on 2024-04-29. Read the most recent version.

การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการลำไยอบแห้งทั้งเปลือกให้มีความพร้อม ของสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี ในจังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • สาธิต เจริญพงษ์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการที่มีสถานที่ผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือกอยู่ในจังหวัดลำพูน โดยได้อ้างอิงเนื้อหาจากหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (จีเอ็มพี 420) ที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์และแบ่งตามเกณฑ์ระดับ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของผู้ประกอบ การในการพัฒนาสถานที่ผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือกให้มีความพร้อมตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี 2) ศึกษาสภาพปัญหาของสถานที่ผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือกตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี และแก้ไขปัญหาสถานที่ผลิตร่วมกับผู้ประกอบการ และ 3) เปรียบเทียบผลลัพธ์ศักยภาพของผู้ประกอบการก่อนและหลังการพัฒนาสถานที่ผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือกให้มีมาตรฐานและได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง คะแนนศักยภาพตามวิธีการผลิตที่ดี ข้อมูลส่วนแรกประเมินโดยผู้ประกอบการ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน 22 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการมีระดับศักยภาพมาก มีคะแนนศักยภาพโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 91.82 ข้อมูลส่วนที่สองประเมินโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ผลิต จำนวน 27 แห่ง ก่อนและหลังการพัฒนาโดยได้ดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบการ ผลการศึกษาพบว่า ก่อนได้รับการพัฒนา ผู้ประกอบการมีระดับศักยภาพน้อย มีคะแนนศักยภาพโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 58.08 ต้องปรับปรุงในประเด็นสุขลักษณะส่วนบุคคล และพบข้อบกพร่องรุนแรง คะแนนศักยภาพที่ประเมินจากผู้ประกอบการและพนักงานเจ้าหน้าที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) หลังได้รับการพัฒนา มีระดับศักยภาพปานกลาง มีคะแนนศักยภาพโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 84.27 โดยคะแนนศักยภาพเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับการพัฒนามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) แสดงให้เห็นว่าถ้ามีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการในการออกแบบและปรับแปลนสถานที่ผลิตและให้ความรู้คำแนะนำตามเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดีสามารถพัฒนาสถานที่ผลิตให้ผ่านมาตรฐานได้ รวมทั้งกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมจะช่วยพัฒนาให้ได้มาตรฐานอย่างรวดเร็ว เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการให้ผลิตอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัยแก่ผู้บริโภคและส่งเสริมเศรษฐกิจการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศต่อไป

คำสำคัญ : ลำไยอบแห้งทั้งเปลือก หลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี  การคุ้มครองผู้บริโภคเภสัช

References

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร. คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร “ลำไย” [อินเทอร์เน็ต] กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร; 2551. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : http://www.agriman.doae.go.th/home/t.n/t.n1/3fruit_Requirement/02_Longan.pdf

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร “ลำไย” ปี 2563-2564 [อินเทอร์เน็ต] กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2565. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.oae.go.th/view/1/search_result/ลำไย/news/TH-TH

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถิติการส่งออกปี 2563-2564 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2565. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : http://impexp.oae. go.th/service/export.php

พศวัต ชัยปัญญา. การอบแห้งลำไยทั้งเปลือกด้วยวิธีปั๊มความร้อนร่วมกับอินฟราเรด. [ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมเกษตร)]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

กระทรวงสาธารณสุข. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับเลขสารบบอาหาร พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136, ตอนพิเศษ 243 ง (ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2562).

สำนักการเกษตรต่างประเทศ. กฎระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารนำเข้าจากต่างประเทศและมาตรการความปลอดภัยสำหรับอาหารนำเข้าและส่งออกสาธารณรัฐประชาชนจีน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2565. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.moac.go.th/foreignagri-prohibit_import-preview-431391791793

กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการตรวจสถานที่ผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตที่บังคับใช้เป็นกฎหมาย (GMP420) (ฉบับปรับปรุง 1). นนทบุรี : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2564.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. นโยบายขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ปี 2566 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.fda.moph.go.th/media.php

อาริยา บุญจันทร์. การพัฒนาความพร้อมของสถานที่ผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทันทีในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตที่ใช้บังคับเป็นกฎหมายในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2559; 1: 91-113.

สุดคะนึง พงษ์พิสุทธินันท์. แนวทางการพัฒนาระบบคุณภาพ HACCP เพื่อการส่งออกผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองฝักสดแช่แข็ง กรณีศึกษา บริษัท ยูเนี่ยนฟรอสท์ จำกัด. [ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

จิรวัฒน์ ยอดสุวรรณ. กระบวนการพัฒนาระบบหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต สำหรับกระบวนการผลิตอาหาร กรณีศึกษา บริษัท พาวเวอร์แพคเอ็กซ์เพรส จำกัด จังหวัดเชียงใหม่. [ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

อดิเทพ บุญเสริม. แนวทางการประยุกต์ใช้หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตของโรงสีข้าวแสงรุ่งเรือง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. [ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2560.

ชุติมา นุตยะสกุล, นิชชิชญา เกิดช่วย, วัฒนา พิลาจันทร์, ฉัตรชัย อิ่มอารมณ์. แนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการควบคุมคุณภาพของสินค้าเกษตรแปรรูปวิสาหกิจชุมชนตำบลคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 2564; 2 : 26-34.

วงเดือน สุภัคธนาการ. แนวทางการประยุกต์ใช้หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (จี เอ็ม พี) กรณีศึกษาบริษัทชาระมิงค์ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่. [ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.

พรทิพย์ เชื้อมโนชาญ, สิริพร บูราเดชะ, อรวรรณ ทิตย์วรรณ, วีรศักดิ์ เชื้อมโนชาญ, วชัญญา บุศยวงษ์, ประศาสน์ เจริญพานิช, พงศธร วิทยพิบูลย์. การศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความพร้อม อุปสรรค และ มาตรการในการส่งเสริมพัฒนาโรงงานให้สามารถผลิตยาตามเกณฑ์ GMP [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2543 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก http://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/1304/ hs0794.pdf

ศิราภรณ์ ประสพชัยชนะ. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีผู้ควบคุมการผลิตอาหารของสถานที่ผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท จังหวัดชลบุรี. วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ. 2565; 1: 27-43.

จิระสันต์ มีรัตน์ธนวัต. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยื่นขอปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตขั้นต้น ของผู้ประกอบการกลุ่มหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเขตจังหวัดภาคตะวันออก. [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article