การรับรู้ต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • สาธิต เจริญพงษ์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และปัจจัยภายในของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จังหวัดลำพูน ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายนถึงกันยายน พ.ศ. 2566 โดยใช้แบบสอบถามส่งไปให้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 75 คน ได้รับกลับคืนมา จำนวน 59 ฉบับ นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลและแบ่งตามเกณฑ์ระดับ ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรที่เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.9 มีอายุเฉลี่ย 35.42 ปี อยู่ในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 30.5 ระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 84.7 มีประสบการณ์ทำงานเฉลี่ย 9.17 ปี ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนเฉลี่ย 6.05 ปี ในหน่วยงานมีการสื่อสารการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและเคยศึกษาข้อมูลแล้ว ร้อยละ 78.0 การรับรู้ต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของบุคลากรโดยรวมมีคะแนนอยู่ในระดับการรับรู้ปานกลาง มีคะแนนการรับรู้มากที่สุด ประเด็นการจัดทำฉลากยา ฉลากยาเสริม และข้อมูลยาสู่ประชาชน และมีคะแนนการรับรู้น้อยที่สุด ประเด็นการสร้างความตระหนักรู้ของบุคลากรทางการแพทย์และผู้รับบริการต่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ถ้าแยกการรับรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนด บุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ระดับการรับรู้มาก ในประเด็นการส่งเสริมจริยธรรมและจรรยาบรรณทางการแพทย์ในการสั่งใช้ยา โดยพบว่าช่วงอายุต่างกันและสถานที่ปฏิบัติงานต่างกัน มีการรับรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ซึ่งองค์กรแพทย์และสหวิชาชีพจะต้องมีบทบาทในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและสร้างความตระหนักรู้ต่อการใช้ยาให้กับบุคลากรด้วย

คำสำคัญ: การรับรู้  การใช้ยาอย่างสมเหตุผล  โรงพยาบาลเอกชน

References

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์. แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://dmsic.moph.go.th/index/detail/6849.

กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองบริหารการสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8302

นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช. จาก RDU Community สู่ RDU Country. ยาวิพากษ์ จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา. 2563; 45: 4-8.

รุ่งทิวา หมื่นปา, นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช. การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use: RDU). [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://ccpe.pharmacycouncil.org/index

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติ 12.4 การจัดการเชิงระบบสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2562. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://infocenter.nationalhealth.or.th/ node/27846

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. นโยบายและทิศทางการดำเนินงานกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://bps.moph.go.th/new_bps

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. รายละเอียดตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index2

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในสถานพยาบาลเอกชน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://mrd.hss.moph.go.th/mrd1_hss

ดวงแก้ว อังกูรสิทธิ์. การประเมินผลการพัฒนางานด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับโรงพยาบาลเอกชนจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (online). 2566; 3(2), 75-88.

นพคุณ ธรรมธัชอารี, นุชรินธ์ โตมาชา, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. การขับเคลื่อนนโยบายการ ใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2565; 16(3), 281-288.

สมหญิง พุ่มทอง, พัชรี ดวงจันทร์, กัญญดา อนุวงศ์, นิธิมา สุ่มประดิษฐ์. บทเรียนจากการขยายผลสู่ความยั่งยืนของโครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2560; 11(4), 500-15.

สุภัคษา วาดพิมาย. ความคิดเห็นของแพทย์ต่อการปฏิบัติตามนโยบายการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล : กรณีศึกษาจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2563; 12(1), 114-27.

ศุภรัชต์ แห่งพิษ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความตระหนักรู้ต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดแพร่. [ปริญญานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

กมลนัท อารีรัตน์, วิบูลย์ วัฒนนามกุล, อารีรัตน์ บากาสะแต, จำปี วงศ์นาค, ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์, สุกัณฑา หมวดทอง. ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้อย่างสมเหตุผลในบุคลากรทางการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4695/ hs2334.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article