This is an outdated version published on 2024-04-29. Read the most recent version.

โอกาสในการพัฒนางานตามนโยบายจังหวัดส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลของจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ ไท้ทอง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร
  • ตรีรัตน์ งันลาโสม กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร
  • วิภาดา ปุณณภาไพศาล กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน RDU Province ของจังหวัดสกลนคร และศึกษาโอกาสในการพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน RDU Province ของจังหวัดสกลนคร เป็นการศึกษาแบบผสมผสานด้วยข้อมูลปี 2560 – 2566 โดยระยะที่ 1 ศึกษาเชิงปริมาณ ประเมินการดำเนินงาน RDU Province ของจังหวัดสกลนครด้วย CIPP model มีกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสาธารณสุขที่เป็นคณะกรรมการเภสัชกรรมบำบัดระดับโรงพยาบาลที่ขับเคลื่อนการดำเนินงาน RDU ของ 18 โรงพยาบาล รวม 200 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาสมเหตุผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน การศึกษาระยที่ 2 ศึกษาเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้ประสานงาน RDU ทั้งระดับจังหวัดและอำเภอ รวม 18 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม รวบรวมข้อมูลแล้ววิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาระยะที่ 1 พบว่า 1) ผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2565 – 2566 มี RDU District 5 และ 10 อำเภอ จาก 18 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 27.78 และ 55.6 ตามลำดับ 2) การประเมิน บริบทนโยบาย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลลัพธ์ของการดำเนินงาน มีภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) บริบทนโยบาย ปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ในระดับสูง (ระดับความสัมพันธ์ 0.681, 0.637 และ 0.740 ตามลำดับ) สำหรับระยะที่ 2 พบว่า 1) ควรมีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน และมีกระบวนการติดตามงานอย่างต่อเนื่อง 2) ควรมีการกำหนดเป็นนโยบายจากผู้บริหารอย่างชัดเจน ควรมีการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาโปรแกรมที่อำนวยความสะดวก รวมถึงการให้ความรู้กับประชาชนและความร่วมมือจากเครือข่ายชุมชน 3) ควรมีการพัฒนารูปแบบแนวทาง การปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ชัดเจนขึ้น และมีการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและการขอความร่วมมือจาก รพ.สต. ในสังกัด อบจ.สกลนคร จะช่วยลดปัญหาจากการหมุนเวียนของบุคลากรได้ 4) การสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานและการติดตามระดับจังหวัดและการมอบนโยบายจากผู้บริหาร การสะท้อนผลการดำเนินงาน การเยี่ยมเสริมพลังพื้นที่เป้าหมาย และสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน RDU Province จังหวัดสกลนครต่อไป

คำสำคัญ: การใช้ยาสมเหตุผล, จังหวัดสกลนคร

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 26 ม.ค. 66. เข้าถึงได้จาก : https://bps.moph.go.th/new_bps/2566

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ.2565 - 2569 [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 14 ก.พ. 66. เข้าถึงได้จาก : https://www.hsri.or.th/sites/default/files/statgic_plan-2569.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 30 ม.ค. 66. เข้าถึงได้จาก : http://www.cmpo.moph.go.th/cmpo/index.php?option=com_attachments&task=download&id=224

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. รายงานประจำปี 2565. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 14 ก.พ. 66. เข้าถึงได้จาก : https://skko.moph.go.th/dward/document_file/strategy/

training_file_name/20230822152024_782785329.pdf

CIPP Model การประเมินโครงการตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงได้จาก : https://www.krupatom.com/education_881/cipp-model/

เกษศิรินทร์ วิเชียรเจริญ, อารยา ประเสริฐชัย, ธีระวุธ ธรรมกุล. การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโรงพยาบาล ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี 2565; 8(1): 110-22.

ณัฏฐวี รักชัย, หทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล, สุภนัย ประเสริฐสุข. ผลลัพธ์การดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Service Plan RDU) ของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 8. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2562; 15(4): 50-64.

ปราชญา บุตรหงษ์. การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชและโรงพยาบาลอื่นในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยศิลปากร 2562.

กัณฐนวรรธน์ รอนณรงค์. ผลการดำเนินงานและพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระดับจังหวัดของคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2564; 41 (1): 58-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article