ความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • ทิยานันท์ สุทธิจุฑามณี กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงา และเพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงา จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 358 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 6 – 31 ตุลาคม 2566 ซึ่งมีผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA ทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบแบบ Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงาอยู่ในระดับสูง (= 3.91, S.D. = 0.50) และผลการเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงาพบว่า ระดับการศึกษา ระยะเวลาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และการเข้าร่วมประชุม/อบรมที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ต่างกัน ทำให้มีความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยครั้งนี้ ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป และควรผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน

คำสำคัญ : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, ความรอบรู้, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

References

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. อย. เผยผลงานปีงบ 2565 ฟันคดีโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและสถานประกอบการผิดกฎหมายกว่า 2,500 คดี จับกุมร่วมกับ บก.ปคบ. รวมมูลค่าของกลางกว่า 1,300 ล้านบาท [จดหมายข่าว]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/2363

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายงานประจำปี 2565 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 18 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://online.fliphtml5.com/hvpvl/xlfq/#p=1

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, วิมล โรมา, มุกดา สำนวนกลาง. แนวคิดหลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทบุรี : สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน; 2561.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร : วีอินเตอร์ พริ้น; 2550.

ภาณุวัฒน์ พิทักษ์ธรรมากุล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในชุมชนต้นแบบของเขตสุขภาพที่ 5. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : http://do5.hss.moph.go.th

กรณี ดำหนูไทย. การศึกษาความสามารถด้านดิจิทัลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 4. Journal of Roi Kaensarn Academi 2566; 8: 193–208.

กิติยาภรณ์ อุทุมพร. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หน่วยโลหิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nmu.ac.th/grid/6253d9e0b4fa5b3b7e787144?contentId=udaSNzIBY5d8lgmpx4MMUgKZDcQOXQ&lang=th

จิรนันท์ ช่วยศรีนวล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2561.

ศิริลักษณ์ อัคพิน, กรกนก เสาร์แดน, ลลดา ทองจำนงค์, ญาตาวี เซ็นเชาวนิช. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการใช้กัญชาในทางการแพทย์. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://socadmin.tu.ac.th/uploads/socadmin/file_research/research_Split/14.pdf

ปาริฉัตร ทนันจา. ความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคความดันโลหิตสูงของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2565.

สุภาพร มงคลหมู่. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยง ในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2564.

สร้อยนภา ใหมพรหม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.

รัชนู กรีธาธร, ภูมิพัฒน์ อรุณากูร. ความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชนไทย. วารสารอาหารและยา. 2566; 30: 80–97.

พงษ์ศิริ งานอัมพรนารา. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

ชินตา เตชะวิจิตรจารุ, อัจฉรา ศรีสุภรกรกุล, สุทัตตา ช้างเทศ. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19: 320–32.

ทรรศนีย์ บุญมั่น. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

เทพไทย โชติชัย, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, กิรณา แต้อารักษ์, สายันห์ ปัญญาทรง, อ้อยทิพย์ บัวจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2563; 7: 45-56.

นิภาวรรณ รัชโทมาศ, เยาวภา ติอัชสุวรรณ, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560; 26: 858-64.

รัตติพร พิพิธกุล, อำนวย ทองโปร่ง. ความฉลาดรู้ไอซีที (ICT literacy) ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ 2566; 8: 299–312.

ชาตรี จันทร์ตา. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลหางดง จังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

ภัทร์พิชชา ครุฑางคะ, กษิดิศ ครุฑางคะ, จงจิตร รัยมธุรพงษ์, เต็มดวง บุญเปี่ยมศักดิ์. การเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านดิจิทัลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2565; 15: 251-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article