This is an outdated version published on 2024-04-29. Read the most recent version.

การศึกษาการให้บริการโครงการรับยาใกล้บ้านในเครือข่ายโรงพยาบาล วารินชำราบ (รูปแบบที่ 2 โรงพยาบาลจัดส่งยาให้ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ)

ผู้แต่ง

  • มนชยา อุดมกิตติ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการโครงการรับยาใกล้บ้านในเครือข่ายโรงพยาบาลวารินชำราบ (รูปแบบที่ 2) กลุ่มตัวอย่าง คือ ร้านยา 12 ร้าน และผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ 555 คน เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลโรงพยาบาล การสัมภาษณ์และสังเกตการณ์กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 – ตุลาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า การประเมินคุณภาพการดำเนินงานตามที่ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดปีงบประมาณ 2564 โรงพยาบาลวารินชำราบและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ระดับ ผู้ป่วยให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ จากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เลือกรับยาซ้ำที่ร้านยา 486 คน (ร้อยละ 87.5) ความพึงพอใจของผู้ป่วยอยู่ในระดับดี (เฉลี่ย 4.65 + 0.58) เป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 367 ราย จาก 380 คน (ร้อยละ 96.58) และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 20 คน จาก 33 คน (ร้อยละ 60.60) เมื่อรับยาต่อเนื่องที่ร้านยา พบว่าผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด โดยค่าเฉลี่ยความดันโลหิต  127.57 ± 15.74/77.49 ± 12.11  (เกณฑ์ <140/90 mmHg) ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด คือ 121.5 ± 22.50 mg/dL (เกณฑ์ < 126 mg/dL)  นอกจากนี้ มีการพัฒนาระบบ Medication reconciliation ผ่านโปรแกรมร้านยาชุมชนอบอุ่นเพื่อบริหารจัดการยาเหลือของผู้ป่วย ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โครงการมีประสิทธิผลต่อการดูแลผู้ป่วยไม่ต่างจากการรักษาในโรงพยาบาลจากผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยและกระบวนการประเมินคุณภาพระบบบริการเป็นสิ่งจำเป็นควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาพัฒนากระบวนการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์สูงสุดจากการให้บริการด้านสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

คำสำคัญ: การประเมินคุณภาพ, การรับยาใกล้บ้าน, รูปแบบที่ 2, ร้านยา

References

โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การประเมิน ผลโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านขายยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ระยะที่ 2 [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.hitap.net/documents/183333

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายชื่อร้านยาดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ ผู้มีสิทธิบัตรทองรับยาที่ร้านได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย[อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nhso.go.th/downloads/204

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 คู่มือการดำเนินงานโครงการลดความแออัดของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสำหรับ สปสช.เขต [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 6 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://r8way.moph.go.th/r8wayNewadmin/page/upload_file/ 20200315205947.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของโรงพยาบาลที่มีระบบบริการรับยาที่ร้านยา มีการดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนด. KPI กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2665]. เข้าถึงได้จาก : http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1663

พยอม สุขเอนกนันท์, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช, บุษบา โทวรรณา, รัตนา เสนาหนอก, พีรยา สมสะอาด, อุกฤษฎ์ สนหอม, และคณะ. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยเรื้อรังที่รับยาต่อเนื่องระหว่างร้านยาคุณภาพ และศูนย์แพทย์ชุมชน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยระบบสาธารณะสุข. 2555; (1):100-11

เบ็ญจลักษณ์ มนต์สุวรรณ, อรรถไกร พันธุ์ภักดี, ชื่นจิตร กรองแก้ว. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบด้านการรักษาที่เภสัชกรชุมชนไทยนำเสนอคุณค่าต่อผู้มารับบริการร้านยา. วารสารเจริญกรุงประชารักษ์. 2562;15(1):80-95

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article