This is an outdated version published on 2024-04-29. Read the most recent version.

ปัญหาการใช้ยากลุ่มเสี่ยงในร้านจำหน่ายพืชกระท่อม จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กิตติยาพร ทองไทย กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาการใช้ยากลุ่มเสี่ยงในร้านจำหน่ายพืชกระท่อม จังหวัดอุบลราชธานี โดยยากลุ่มเสี่ยงที่ทำการศึกษา คือ ยาอันตราย 3 ชนิด ได้แก่ Tramadol, Dextromethorphan และ Diphenhydramine ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยากลุ่มเสี่ยงทุกแห่งที่ถูกดำเนินคดี ข้อมูลที่ตั้งร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยากลุ่มเสี่ยง แหล่งซื้อยากลุ่มเสี่ยง และข้อมูลผู้ที่ใช้ยากลุ่มเสี่ยง ร่วมกับการดื่มน้ำต้มพืชกระท่อมที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลรัฐทุกแห่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการในเดือนตุลาคม 2565 ถึงกันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ คือ ฐานข้อมูลร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยากลุ่มเสี่ยงทุกแห่งที่ถูกดำเนินคดี และฐานข้อมูลผู้ที่ใช้ยากลุ่มเสี่ยง ร่วมกับการดื่มน้ำต้มพืชกระท่อมที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลรัฐทุกแห่ง ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย

          ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดอุบลราชธานีมีร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยากลุ่มเสี่ยงถูกดำเนินคดีมากที่สุดในอำเภอเมืองอุบลราชธานี จำนวน 6 แห่ง (ร้อยละ 14.29) รองลงมาคือ อำเภอวารินชำราบ จำนวน 3 แห่ง (ร้อยละ 7.14) และอำเภอเขมราฐ และอำเภอบุณฑริก อำเภอละ 1 แห่ง (ร้อยละ 2.38) ตามลำดับ ซึ่งร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยากลุ่มเสี่ยงมีที่ตั้งอยู่ใกล้โรงเรียน ร้อยละ 66.67 โดยซื้อยากลุ่มเสี่ยงจากร้านค้าที่มีการโฆษณาทางสื่อโซเชียล ร้อยละ 73.33 จำนวนผู้มารับบริการที่พบอาการไม่พึงประสงค์จากการดื่มน้ำต้มพืชกระท่อม ร่วมกับใช้ยา Tramadol มากที่สุด ร้อยละ 67.51 รองลงมา คือ Dextromethorphan ร้อยละ 18.05 และ Diphenhydramine ร้อยละ 14.44 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่พบอยู่ในพื้นที่อำเภอขนาดใหญ่และอำเภอชายแดน สอดคล้องกับข้อมูลร้านจำหน่ายพืชกระท่อมที่มีการจำหน่ายยาอันตรายกลุ่มเสี่ยงที่ถูกดำเนินคดี จากสถานการณ์ดังกล่าว สามารถนำข้อมูลมาใช้เพื่อจัดการปัญหาการใช้ยากลุ่มเสี่ยงในร้านจำหน่ายพืชกระท่อม รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย และสร้างความร่วมมือจากภาคเอกชนและประชาชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาครอบคลุมทุกมิติ

คำสำคัญ: ยากลุ่มเสี่ยง, พืชกระท่อม

References

ชานานัน โฉมงามดี, นิลวรรณ อยู่พักดี. การวิเคราะห์ระบบรายงานยากลุ่มเสี่ยงที่นำไปใช้ในทางที่ผิดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา:กรณีศึกษายาทรามาดอล [วิทยานิพนธ์ปริญญา เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต] พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2565.

เลิศเชาว์ สุทธาพานิช. ความเห็นของผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันและพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อมาตรการ ควบคุมยาแก้ไอและยาแก้แพ้ที่อาจนำไปใช้ในทางที่ผิดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.วารสารเภสัชกรรมไทย 2560; 9(2):329-37.

ไทยรัฐออนไลน์. บุกจับ! ร้านขายยาต้องห้าม วัยรุ่นนิยมผสมเป็นยาเสพติดย่านร่มเกล้า. [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 23 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thairath.co.th/news/local/494848

ธิดาพร อาจทวีกุล, วิรัติ ปานศิลา, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาอันตรายในร้านขายของชำในพื้นที่ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2559: 22(4); 497-509.

นิสา ชายกุล. แหล่งที่มาของยาแก้ไอซึ่งถูกนำมาเสพโดยผู้ติดยาในจังหวัดแห่งหนึ่งทางภาคใต้. วารสารเภสัชกรรมไทย 2560; 9(2):516-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article