การศึกษาประสิทธิผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจรร่วมรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แยกกักตัวอยู่บ้าน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • พงษ์กฤษฎ์ เทียนครบ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา :  andrographolide ในฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนา  2019 ได้ ซึ่งแนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรที่มีปริมาณ andrographolide 180 มก/วัน ติดต่อ 5 วัน ร่วมกับการรักษาในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ โดยโรงพยาบาลตะกั่วป่าได้นำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่รับรักษาในโรงพยาบาลแบบแยกกักตัวอยู่บ้าน(home isolation) 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาฟ้าทะลายโจรร่วมการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19 แบบแยกกักตัวอยู่บ้าน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

วิธีวิจัย: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาถึงประสิทธิผลของฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ร่วมกับการรักษาตามมาตรฐาน โดยรับรักษาในโรงพยาบาลตะกั่วป่าแบบ Home Isolation ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2564- 31 มีนาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป และกำหนดค่าความเชื่อมั่นน้อยกว่า 0.05

ผลการวิจัย : กลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรร้อยละ 56.3 มีอาการทั้งหมดดีขึ้นภายใน 3 วัน โดยลดอาการเจ็บคอร้อยละ 69.1 ลดอาการไข้ร้อยละ 50.25 และลดอาการไอร้อยละ 49.54 และเพิ่มเป็นร้อยละ 73.9, 51.1 และ 62.2 ตามลำดับ  เมื่อใช้ร่วมกับยาพาราเซตามอลและยาปฏิชีวนะ  ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ยาฟ้าทะลายโจรอย่างมีนัยสำคัญ พบภาวะหลังติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรร้อยละ 23.8 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่ได้ยาฟ้าทะลายโจร

สรุปผลการวิจัย : ฟ้าทะลายโจรมีประสิทธิภาพในการลดอาการจากการติดเชื้อโควิด-19 และ ลดการเกิดภาวะหลังติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ: ฟ้าทะลายโจร, andrographolide , โควิด-19 ที่มีไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย

 

 

References

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุขและปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph. go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

Sila T, Laochareonsuk W, Surachart K, Surasombatpattana S, Saelim W, Sangkhathat. Evolution and bioinformatic analysis of the whole genome sequences of SARS-CoV-2. PSU Med J 2022;2(2):85-98.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 6 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25650105180407PM_80%E0%B8%9B%E0%B8%B5HomeIso.pdf.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2564 สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 10 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.stopcorruption.moph.go.th/application/editors/userfiles/files/แนวทางเวชปฏิบัติ%20COVID-19%20 (ฉบับปรับปรุง%2021-4-64).pdf

ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 138 ตอนพิเศษ 120 ง. หน้า 47. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/120/T_0046.PDF.

อัมพร เบญจพลพิทักษ์, ขวัญชัย วิศิษฐานนท์, ธิติ แสวงธรรม, เทวัญ ธานีรัตน์, กุลธนิต วนรัตน์. รายงานสังเขปผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย COVID-19. การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2564];19(1):229-33. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JTTAM/article/download/249140/168781/909721

โครงการการศึกษานำร่องผลของสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาดสูงต่อผู้ป่วยโรคโควิด-19 ระดับความรุนแรงน้อย โรงพยาบาลสมุทรปราการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/06/19650

ดารารัตน์ รัตนรักษ์, รุจิรา เข็มเพชร, อุษณีย์ พูลวิวัฒน์กูล, สิรีธร นิมิตวิไล, อรอนงค์ เหล่าตระกูล. ประสิทธิผลและความปลอดภัยของสารสกัดฟ้าทะลายโจรต่อการร่วมรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงน้อย โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2564;40(2):270-82

งานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา. 2564. กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา. รายงานสถิติผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำสัปดาห์. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา.

Wattananat T, Duangteraprecha S, Jamtaweekul J, Sukphan P. Alternative to the Thai herbal pharmacopoeia method for quality control of Andrographis capsules. Journal of Thai Traditional and Alternative Medicine [Internet]. 2016;14(3):313-23

กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). ฉบับปรับปรุงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 สำหรับแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/backend/Content//Content_File/Covid_Health/ Attach/25641103093725AM_update-CPG_COVID_v19.5_n_02211102.pdf

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2545.

จิระภา พันธุเศรษฐ์, มะโนตร นาคะวัจนะ. โครงการศึกษาระดับการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีความรุนแรงน้อย ไม่มีปัจจัยเสี่ยง และได้รับสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรแคปซูลในการร่วมรักษา ที่รับบริการในโรงพยาบาลของจังหวัดอุดรธานี ประจำปี 2564. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2566;31(2):161-9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article