This is an outdated version published on 2024-04-29. Read the most recent version.

การพัฒนารูปแบบผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอางจากสมุนไพรตามแนวคิด เศรษฐกิจฐานราก : กรณีศึกษาจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ ไท้ทอง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร
  • สุวิชา แสนบรรดิษฐ์รินทา กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

การดำเนินการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอางจากสมุนไพรตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดสกลนคร ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) กระบวนการศึกษาใช้การวิจัยเอกสารทุติยภูมิตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก เพื่อให้ได้องค์ประกอบของเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบการจัดการธุรกิจเครื่องสำอางตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก และใช้เทคนิควิจัยแบบเดลฟาย (Delphi Technique) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน สร้างเป็นรูปแบบผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอางจากสมุนไพรตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก: กรณีศึกษาจังหวัดสกลนคร จากนั้นจึงตรวจสอบรูปแบบฯ ด้วยค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้รูปแบบฯ โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจากภาครัฐ จำนวน 3 ราย เพื่อทำการทดลองใช้ แล้วนำรูปแบบที่ได้พัฒนาเป็นคู่มือเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบการจัดการธุรกิจเครื่องสำอางตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดสกลนคร จากผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของระบบการจัดการธุรกิจเครื่องสำอางที่มีองค์ประกอบหลัก จำนวน 7 องค์ประกอบหลัก (BIPSAAP Model) 25 ดัชนีการประเมิน และ 53 รายการประเมิน ได้แก่ 1) ทรัพยากรพื้นฐาน (Basic resources) 2) ปัจจัยนำเข้า (Input) 3) กระบวนการผลิต (Production) 4) บทบาทภาครัฐ (Support of government) 5) การรักษาและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (Adding quality) 6) ความสามารถในการแข่งขัน (Ability of competition) และ 7) ผลการดำเนินงานขององค์กร (Perspective) แล้วนำรูปแบบที่ได้ไปพัฒนาเป็น คู่มือเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบการจัดการธุรกิจเครื่องสำอางตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดสกลนคร การพิจารณาคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญได้ค่า IOC สูงกว่า 0.5 แสดงถึงเกณฑ์การประเมินที่สอดคล้องกัน และผลการทดลองประเมินกับผู้ประกอบการ พบว่าคู่มือสามารถนำไปใช้กับผู้ประกอบการที่มีโครงสร้างทางธุรกิจเครื่องสำอางที่แตกต่างกัน ทำให้มองเห็นจุดบกพร่องและแนวทาง แก้ไขในการดำเนินธุรกิจ เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานต่อไป

คำสำคัญ : เศรษฐกิจฐานราก, เครื่องสำอาง, สมุนไพร, ผู้ประกอบการ

 

References

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (16) ประเด็นเศรษฐกิจฐานราก (2561 – 2580). [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/

/04/16-เศรษฐกิจฐานราก.pdf

กรมพัฒนาชุมชน. การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://district.cdd.go.th/khowang/wp-content/uploads/sites/531/2019/09/128785_ยุทธศาสตร์ชาติ20ปีกับศก.ฐานราก01-1.pdf

ประเวศ วะสี. วิธีการและกลไกยุทธศาสตร์ประชารัฐสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากบนหลักการ เศรษฐกิจพอเพียง. หมอชาวบ้าน. นนทบุรี; 2558:1-18.

Kinsley ME. Creative capitalism: a conversation with Bill Gates, Warren Buffett and other economic leaders. New York: Simon & Schuster. 2008.

กาญจนา รอดแก้ว, ภุชงค์ เสนานุช, รณรงค์ จันใด. รายงานฉบับสมบูรณ์การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร; 2563.

กลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่อาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพร. สไลด์นำเสนอ. การประชุมสัมมนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. รายการผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2565. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://skko.moph.go.th/dward/document_file/strategy/training_file_name/20230822152024_782785329.pdf

กรุงเทพธุรกิจ. “ตลาดสมุนไพร” เศรษฐกิจหลักของไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2567. [เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/social/914569

ผู้จัดการ. ตลาดสมุนไพร 5 หมื่นล้านกับโอกาสของผู้ประกอบการไทย; [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2566]; เข้าถึงได้จาก : http://gotomanager.com/content/125213/

ฐานเศรษฐกิจ. อัดยาแรงปลุก “เครื่องสำอาง” 3 แสนล้านคึกคัก. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaicosmetic.org/

ปาริชาติ เพชรพุก. โอกาสทางการตลาดของเครื่องสำอางสมุนไพรไทยในตลาดโลก [ปริญญานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณทิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. การพัฒนาเกณฑ์การประเมินมาตรฐานระบบการจัดการเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มธุรกิจชุมชนในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การวิจัยอนาคตโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Future Research Using Delphi Technique). วารสารสหวิทยาการวิจัย 2562;8(1):1-10

ศิริพงษ์ เศาภายน. หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์; 2548.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ตามรอยพระราชดำริ สู่ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร; 2555.

ธีรวัฒน์ จันทึก, เสรี ชัดแช้ม. การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการคุณภาพของวิสาหกิจชุมชน. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย 2557;6(1):99-129

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์2563;8(2):474-88

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article