สถานการณ์ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง หรือสารสกัด CBD ที่ผลิตและจำหน่ายในเขตสุขภาพที่ 4
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณสาร THC และ CBD ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มมีส่วนผสมของกัญชา กัญชง หรือสารสกัด CBD 2) ศึกษาความถูกต้องตามกฎหมายของฉลากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ 3) ศึกษามาตรฐานของสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ และ 4) ศึกษาแนวทางในการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ ให้มีปริมาณสาร THC และ CBD ตามกฎหมาย ดำเนินการเดือนมกราคม – กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ ที่ผลิตและจำหน่ายในเขตสุขภาพที่ 4 จำนวน 30 ตัวอย่าง สถานที่ผลิต 7 แห่ง และตัวแทนจากสถานที่ผลิต 7 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบตรวจสอบฉลาก แบบตรวจประเมินสถานที่ผลิตอาหาร และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ ที่พบสาร THC และ CBD ผ่านเกณฑ์กฎหมาย 16 ตัวอย่าง ร้อยละ 53.33 โดยเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสารสกัด CBD ผ่านเกณฑ์มากที่สุด 3 ตัวอย่าง ร้อยละ 60.00 2) ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ ที่แสดงฉลากถูกต้อง 1 ตัวอย่าง ร้อยละ 3.57 รายการที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด คือ การแสดงวัตถุเจือปนอาหาร ร้อยละ 77.78 3) สถานที่ผลิตทุกแห่งผ่านเกณฑ์ GMP 420 และข้อกำหนดเฉพาะ 4) แนวทางในการควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มฯ ให้มีปริมาณสาร THC และ CBD ตามกฎหมาย ได้แก่ (1) ติดตามกฎหมายอย่างสม่ำเสมอ (2) เลือกวัตถุดิบที่มีสาร THC และ CBD ตามที่กฎหมายกำหนด (3) ตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบก่อนการผลิตทุกครั้ง (4) การตั้งตำรับต้องพิจารณากระบวนการผลิตร่วมด้วย (5) ศึกษาอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นการผลิต (6) เลือกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันแสงได้
คำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม, กัญชา, กัญชง, สารสกัด CBD, เขตสุขภาพที่ 4
References
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิตนำเข้า หรือจำหน่าย. (2564, 25 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนพิเศษ 45 ง หน้า 32.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. ปลดล็อก...กัญชง เปิดโอกาส อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/ k-social-media/Pages/Hemp-FB-02-06-21.aspx
จุดประกาย. นักวิจัยจุฬาฯ พบสาร THC จาก "กัญชา" ในอาหาร (บางชนิด) เกินมาตรฐาน [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ: 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/health/984723
ชาติสยาม หม่อมแก้ว. จุฬาฯ วิจัยพบปริมาณสาร THC ในเครื่องดื่มกัญชาเกินกำหนดเตือนผู้บริโภคระวังจี้รัฐควบคุม [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chula.ac.th/highlight/70801#ผลการสุ่มตรวจปริมาณ-∆9-THC- ในเครื่องดื่มกัญชา.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 427) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของส่วนของกัญชาหรือกัญชง. (2564, 23 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนพิเศษ 168 ง หน้า 22-24.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 429) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ. (2564, 27 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนพิเศษ 198 ง หน้า 9-11.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 438) พ.ศ. 2565 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของส่วนของกัญชาหรือกัญชง (ฉบับที่ 2). (2565, 21 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139, ตอนพิเศษ 251 ง หน้า 31-33.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 439) พ.ศ. 2565 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารสกัดแคนนาบิไดออลเป็นส่วนประกอบ (ฉบับที่ 2). (2565, 21 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139, ตอนพิเศษ 251 ง หน้า 34.
สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. ประกาศข้อกำหนดผลิตภัณฑ์อาหารกัญชา – กัญชงมีผลบังคับใช้แล้ว. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก:https://www.hfocus.org/content/2022/10/26235
ระบบ SKYNET [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ฐานข้อมูลใบอนุญาตผลิตอาหาร; c2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก:https://privus.fda.moph.go.th
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร. (2564, 9 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนพิเศษ 31 ง หน้า 24-26.
อังคณา ธรรมชัยปราการ. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเครื่องดื่มผลไม้ภาคอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2562.
กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการตรวจสถานที่ผลิตอาหารตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่ดีในการผลิตที่บังคับใช้เป็นกฎหมาย (GMP 420). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2564.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-09 (2)
- 2024-04-29 (1)
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว