This is an outdated version published on 2024-04-29. Read the most recent version.

ผลของการพัฒนาร้านชำขนาดใหญ่แบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา ปี 2566

ผู้แต่ง

  • จักรี แก้วคำบ้ง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
  • สุทธินี เรืองสุพันธุ์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
  • ศุภธิดา วิสุทพิพัฒน์สกุล กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
  • สรัญญาพร รักษ์วิชานันท์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาร้านชำขนาดใหญ่แบบการมีส่วนร่วมของชุมชนและปัจจัยการจำหน่ายยาในร้านชำ ในจังหวัดนครราชสีมา ปี 2566 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการ คือ ร้านชำขนาดใหญ่ รวม 908 คน พัฒนากระบวนการตามแนวคิด PAOR ระหว่าง 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ McNemar test และ Fisher's exact test ผลการศึกษา พบว่าร้านชำขนาดใหญ่ จำหน่ายยาอันตรายและยาห้ามจำหน่าย ในการตรวจครั้งที่ 2 จำนวน 164 แห่ง (ร้อยละ 18.06) ลดลงจากการตรวจครั้งที่ 1 จำนวน 386 แห่ง (ร้อยละ 42.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001)  การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาร้านชำสามารถลดปัจจัยความต้องการของชุมชน ปัจจัยการไม่ทราบกฎหมายว่าเป็นยาห้ามจำหน่าย และปัจจัยมีรถขนส่งยาถึงหน้าบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.005) แต่ไม่สามารถลดปัจจัยเรื่องยอดขายหรือกำไร คะแนนความรู้เพิ่มมากขึ้นหลังการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากร้อยละ  66.85 เป็นร้อยละ 93.94 (p<0.001) จากการทำวิจัยในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าการพัฒนาร้านชำขนาดใหญ่แบบการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถลดจำนวนร้านชำที่จำหน่ายยาอันตรายและยาห้ามจำหน่ายในชุมชน และสามารถลดแรงจูงใจ เรื่อง ปัจจัยความต้องการของชุมชน ปัจจัยการไม่ทราบกฎหมายว่าเป็นยาห้ามจำหน่าย และปัจจัยมีรถขนส่งยาถึงหน้าร้าน

คำสำคัญ การพัฒนา, ร้านชำขนาดใหญ่, การมีส่วนร่วม

References

มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. ผลลัพธ์ต่อพฤติกรรมการสั่งยาและผู้ป่วยจากการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล. ในวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข(อินเตอร์เน็ต). 2563[สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2566]; 26-44: เข้าถึงได้จากhttps://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5181/hs2546.pdf?sequence=1&isAllowed=y

กลุ่มงานพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ กองบริหารการสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ นนทบุรี:กองบริหารการสาธารณสุข; 2563

กองสถิติสังคม. ผลสำรวจด้านอนามัยและสวัดิการ. ในสำนักงานสถิติแห่งชาติ. ผลสำรวจด้านอนามัยและสวัสดิการ ปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธนาเพรส จำกัด; 2562. หน้า 1-19

สิริลักษณ์ รื่นรวย และสุรศักดิ์ เสาแก้ว. สถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในเขตสุขภาพที่ 3. วารสารเภสัชกรรมไทย 2560;9(1): 226-35

ธนพงศ์ ภูผาลี, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล, วิษณุ ย่งยอด, ตฤณ แสงสุวรรณ, ลัดดา อำมาตย์. รูปแบบการพัฒนาร้านชำแบบชุมชนมีส่วนร่วม ต.โพนสูง จ.สกลนคร. 2557; 21(3): 57-63

ปัทมาพร ปัทมาสราวุธ, รุ่งทิวา หมื่นปา. การพัฒนาร้านชำต้นแบบจากโครงการประชารัฐร่วมใจส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน. วารสารเภสัชกรรมไทย 2563;12(3): 601-11

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article