ผลของระบบการติดตามดูแลความปลอดภัยจากการใช้ยา Warfarin ในระดับปฐมภูมิ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พีระพงศ์ ภูบาล -

คำสำคัญ:

Warfarin ปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลระบบการติดตามดูแลความปลอดภัยจากการใช้ยา Warfarin ในระดับปฐมภูมิ วิธีการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลปัญหาเกี่ยวกับยา Warfarin จากการเยี่ยมบ้านและเปรียบเทียบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา Warfarin การควบคุม INR และความปลอดภัยในผู้ป่วยจำนวน 100 ราย ก่อนและหลังนำระบบการติดตามดูแลความปลอดภัยจากการใช้ยา Warfarin ในระดับปฐมภูมิไปดำเนินการเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยใช้สถิติ Paired t-test, Wilcoxol signed rank test และ McNemama’s test ผลการวิจัย : ยา Warfarinเหลือใช้ลดลงจาก 46.46% เป็น 7% (p<0.001) การเก็บรักษายาไม่เหมาะสมลดลงจาก37.37% เป็น6% (p<0.001) การใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดลงจาก 17.31% เป็น 2% (p<0.001) ปัญหาโอกาสเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาลดลงจาก 84.85% เป็น 71%(p=0.187) ผู้ป่วยมาผิดนัดลดลงจาก 33.65% เป็น 9% (p<0.001) ความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นจาก 91.14% + 21.28% เป็น 93.75% + 5.92% (p=0.165) ผลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา Warfarin พบว่าค่า INR ล่าสุดอยู่ในเป้าหมายเพิ่มจาก 62.5% เป็น 63% (p=0.844) %Time in therapeutic range ไม่แตกต่างจากเดิม 48.48% + 24.31% เป็น 48.29% + 20.91% (p=0.960) การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Warfarin ลดลงจาก 13.14% เป็น 5% (p=0.045) สรุป : หลังจากมีการพัฒนาระบบการติดตามดูแลความปลอดภัยจากการใช้ยา Warfarin ในระดับปฐมภูมิและนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย สามารถลดปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับยา Warfarin และเพิ่มความปลอดภัยจากการใช้ยา warfarin

References

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2554.

คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจ สำนักบริหารการสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาโรคหัวใจ เรื่องการบริหารจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Warfarin Clinic Management); 2559.

Poobal P, Ploylermsang C, Kittiboonyakul P. Development of Warfarin Safety Monitoring System at Primary health Care grounded on Chronic Care Model. Indonesian Journal of Pharmacy. 2022;33(2):278–90.

วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี. ต้นแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2551;2(1):82-90.

พัทยา หวังสุข, สุนิดา แสงน้อย. การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23:45–51.

อภิชาติ จิตต์ซื่อ, สุวิมล ยี่ภู่, ตุลยา โพธารส, จันทรัสม์ เสกขุนทด, ปิยะนุช ทิมคร. การศึกษาความรู้ของผู้ป่วยและปัญหาจากการใช้ยาวาร์ฟาริน ณ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2558;33(2):83–92.

พิทยาธร โยมศรีเคน, ทิพย์วาณี ธัญญะวัน, รชตะ มังกรแก้ว, รณชัย ชมเมือง, กัลญารัตน์ ตั้งตระกูล, ศตพร สืบสิงห์, และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับ INR และการเกิดภาวะเลือดออกในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลวารินชำราบ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2560;30:301-10.

ปรีชญา ตาใจ. ผลการให้คำแนะนำของเภสัชกรแก่ผู้ป่วยนอกที่รับประทานยาวาร์ฟารินที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article