สถานการณ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรผิดกฎหมายที่ขายบนแพลตฟอร์ม ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย กรณีศึกษายาผงจินดามณี

ผู้แต่ง

  • นัทธินี วัฒนวราสันติ์ -
  • ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์

คำสำคัญ:

ยาผงจินดามณี, ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, โฆษณาผิดกฎหมาย, แอปพลิเคชัน ตาไวฟอร์เฮลท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาผงจินดามณีบนแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 4 แพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายและคุณลักษณะของเว็บเพจ กลุ่ม หรือร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว รวมถึงการตรวจสอบความครบถ้วนของฉลาก และความถูกต้องด้านการโฆษณาตามกฎหมาย การศึกษาดำเนินการในช่วงวันที่ 25 – 29 ธันวาคม 2566 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมผ่านระบบแอปพลิเคชันตาไวฟอร์เฮลท์ (TaWai for Health)

ผลการศึกษาพบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาผงจินดามณีทางสื่อออนไลน์ทั้งหมด 130 เว็บเพจ (เพจ/บัญชี) บนแพลตฟอร์มผู้ให้บริการ 2 แพลตฟอร์ม (A และ B) แต่ไม่พบบนแพลตฟอร์ม C และ D เนื่องจากมีการจำกัดการค้นคำกรณีชื่อผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย บนแพลตฟอร์ม A พบ 106 เพจ มีจำนวนผู้ติดตามทั้งหมด 143,715 บัญชี ช่วงราคาต่ำสุด-สูงสุดต่อชิ้น 35 – 150 บาท นอกจากนี้ บนแพลตฟอร์ม A พบ 15 กลุ่ม (4 กลุ่มส่วนตัว, 11 กลุ่มสาธารณะ) มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 12,627 บัญชี ส่วนบนแพลตฟอร์ม B พบ 24 บัญชี มีช่วงราคาต่ำสุด-สูงสุดต่อชิ้น 38.80 – 137.50 บาท และมียอดขายทั้งหมด 1,400 ชิ้น คิดเป็นมูลค่ารวม 67,527.10 บาท การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ยาผงจินดามณี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและมีการปลอมปนสารสเตียรอยด์ ยังคงพบการจำหน่ายบนแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และพบความผิดในด้านการแสดงฉลากและการโฆษณา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรเพิ่มมาตรการในการกำกับดูแลและเสริมกลไกที่ช่วยคุ้มครองผู้บริโภคบนอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ

References

Wahab MSA, Hamdi H, Ali AA, Karuppannan M, Zulkifli MH, Maniam S, Ung COL. The use of herbal and dietary supplements for COVID-19 prevention: A survey among the public in a Malaysian suburban town. J Herb Med. 2023; 39: 100650.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 7 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://oryor.com/media/checkSureShare/media_specify/561?ref=search

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 7 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_news/1890

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทย์ With you [อินเตอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 7 ม.ค.2567]. เข้าถึงได้จาก: https://alert.dmsc.moph.go.th/#product

กองกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. กฎหมาย พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองกฎหมาย; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 7 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://laws.fda.moph.go.th/laws/herbal-product-act-be-2562

หน่วยวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (TaWai for Health) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2567 [เข้าถึงเมื่อ 7 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://tawaiforhealth.org/

Shopee Thailand. นโยบายสินค้าห้ามจำหน่าย และสิ่งของที่ถูกจำกัดบนแพลตฟอร์ม C [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://seller.th.C.cn /edu/article/308

Lazada Seller Center. นโยบายสินค้าต้องห้าม และควบคุม [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://sellercenter.lazada.co.th/seller/helpcenter/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1-8060.html

Facebook. ข้อกำหนดการใช้บริการ [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/legal/terms

TikTok Shop Academy. แนวทางเกี่ยวกับสินค้าที่ถูกจำกัดและไม่รองรับของ TikTok Shop [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://seller-th.tiktok.com/university/essay?knowledge_id=6837792714458881&default_language=th-TH&identity=1

ประกาย หมายมั่น. การสำรวจการขายยาผ่านเว็บไซต์ขายสินค้าซึ่งเป็นที่นิยมในประเทศไทย.วารเภสัชกรรมไทย. 2562; 11(2): 368-9

พนิตนาฏ คำนุ้ย. การโฆษณาขายยาออนไลน์ที่ผิดกฎหมายและมาตรการดำเนินการ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก:

https://plan.fda.moph.go.th/media.php?id=534211140662730752&name=binder18561.pdf

นิรัตน์ เตียสุวรรณ. การศึกษาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขายยาทางอินเตอร์เน็ต [อินเทอร์เน็ต]. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. เข้าถึงจาก https://plan.fda.moph.go.th/media.php?id=53458 7984536805376&name=binder18374.pdf

ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://cemc.fda.moph.go.th/statistic/category/statistics/

ฐิติพร อินศร. การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผิดกฎหมายในสื่อสังคมประเภทเฟซบุ๊กและข้อเสนอแนวทางบังคับใช้กฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(1): 40-8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย Research Article