การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการจำหน่ายยาในร้านชำผ่านนโยบายส่งเสริมการใช้ยา อย่างสมเหตุผลในชุมชนตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การพัฒนา , ระบบเฝ้าระวัง , ร้านชำ, การ ใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังการจำหน่ายยาในร้านชำผ่านนโยบายส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษใช้กระบวนการตามหลักการของ RDU Community ได้แก่ 1) การประเมินปัญหาในพื้นที่ 2) การคืนข้อมูลการเฝ้าระวังและผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากยาในชุมชนโดยเภสัชกร 3) การร่วมกันวิเคราะห์และร่วมวางแผนจัดกิจกรรม 4) การออกแบบระบบเฝ้าระวังฯ โดยเครือข่าย บวร.ร. ชุมชนส้มป่อย5) การสร้างข้อตกลงร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาระบบประกอบด้วย เครือข่าย บวร.ร.
ตำบลส้มป่อย จำนวน 57 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ร้านชำทุกร้านในตำบลส้มป่อยจำนวน 45 ร้าน ผู้ประกอบการร้านชำทุกร้าน จำนวน 45 คน และประชาชนตัวแทนครัวเรือน จำนวน 362 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เครื่องมือสำรวจร้านชำแบบ ออนไลน์ ร้านชำ GIS แบบทดสอบความรู้ผู้ประกอบการร้านชำเกี่ยวกับพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 (พ.ร.บ. ยา) และแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการบริโภคยาอย่างปลอดภัยของประชาชน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ paired t – test กำหนดนัยสำคัญที่ p < 0.05
ผลการศึกษาหลังดำเนินกิจกรรม พบว่าสัดส่วนของร้านชำที่จำหน่ายยาที่ห้ามจำหน่ายลดลงจากการสำรวจในครั้งแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ ลดจากร้อยละ 13.3 เหลือร้อยละ 0 ยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จลดลงจากร้อยละ 13.3 เหลือร้อยละ 0 และยาอันตรายที่ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะลดลงจากร้อยละ 6.7 เหลือร้อยละ 0 คะแนนความรู้ของผู้ประกอบการและประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 8.11 ± 2.28 คะแนน เป็น 13.02 ± 2.74 คะแนน (p<0.001) (คะแนนเต็ม 16 คะแนน) และจาก 5.99 ± 1.11 เป็น 8.70 ± 1.07 (p<0.001) (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) ตามลำดับ สรุปได้ว่าการพัฒนาระบบเฝ้าระวังฯ ผ่านนโยบาย RDU Community ทั้ง 5 กิจกรรม ทำให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลและชุมชนภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ระบบฝ้าระวังฯ ทำให้ผู้ประกอบการและประชาชนเกิดความรอบรู้ในการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและส่งเสริมให้ตำบลส้มป่อยเป็นชุมชนต้นแบบปลอดยาที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำได้
References
กองบริหารการสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ในชุมชน. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี. 2563.
เบญจมาศ บุดดาวงศ์, วรสุดา ยูงทอง. การสร้างศักยภาพของชุมชนในการจัดการปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม : กรณีอำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารเภสัชกรรมไทย. 2559. 8(2); 331-43.
ปัทมาพร ปัทมาสราวุธ, รุ่งทิวา หมื่นปา. การพัฒนาร้านชำต้นแบบจากโครงการประชารัฐร่วมใจส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562; 12(3): 601-11.
นทพร ชัยพิชิต, นฤมล เจริญศิริพรกุล, ผันสุ ชุมวรฐายี. ความรู้ ความเข้าใจต่อการแพ้ยา และพฤติกรรมการพกบัตรแพ้ยาของผู้ป่วยแพ้ยาโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2552; 24(3): 224-30.
อัจฉรีย์ สีหา, วรรณภา ศักด์ิศิริ. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในร้านชำเขตอำเภอกมลาไสยจังหวัดกาฬสินธ์ุ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565; 15(1): 304-17.
ธิดาพร อาจทวีกุล, วิรัติ ปานศิลา, วรพจน์ พรหมสัตยพรต. การพัฒนาระบบการจำหน่ายยาอันตรายในร้านขายของชำในพื้นที่ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2559; 22(4): 497-509.
พรรณนภา ศรีสวัสดิ์. ถอดบทเรียนการดำเนินงานพัฒนาสู่จังหวัดใช้ยาสมเหตุผล : พื้นที่นำร่องอำเภอใช้ยา สมเหตุผลจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ. 2566; 2:
-55.
จินดาพร อุปถัมภ์, คณัฐวุฒิ หลวงเทพ, สิรีธร บัวขจร. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคค้านสุขภาพ. 2566; 3(1): 70-85.
สลิลทิพย์ น้อยสนิท, ชิดชนก เรือนก้อน. การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบปลอดยาปฏิชีวนะยาชุดยาผสมสารสเตียรอยด์ : กรณีเทศบาลตำบลทุ่งหลวงอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2564; 13(4): 920-32.
อัปสร บุญยัง, รุ่งทิวา หมื่นปา. ความชุกของการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำในจังหวัดพิษณุโลกและปัจจัยที่มีผล. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562; 11(1): 105-18.
สุนิษา ถิ่นแก้ว, รัตนาภรณ์ อาวิพันธ์, ชิดชนก เรือนก้อน. การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการจำหน่ายยาในร้านชำผ่านนโยบายส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนตำบลแหล จังหวัดพังงา. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2566; 15(2): 316-30.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว