บทสรุปความร่วมมือเพื่อสร้างกลไกการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาประเทศไทย - สปป.ลาว

ผู้แต่ง

  • สุภนัย ประเสริฐสุข -

บทคัดย่อ

ภาคีหุ้นส่วน(Boundary partners) หนึ่งที่สำคัญคือเครือข่ายองค์กรระหว่างประเทศหรือประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกันกับประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคอีสาน ได้แก่ สปป.ลาว และกัมพูชา โดย Outcome Challenge หรือได้กำหนดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการดำเนินงาน เครือข่ายความร่วมมือจัดการปัญหายาชายแดน จะรวมตัวกันโดยมีหน่วยงานประสาน กำหนดประเด็น แผนการจัดการ ทำระบบร่วมกัน ซึ่งหนึ่งใน Boundary partners ที่สำคัญคือเครือข่ายระหว่างประเทศ โดยเริ่มต้นที่ความร่วมมือทางวิชาการภายใต้ข้อตกลงร่วมทางวิชาการ โดยบันทึกความเข้าใจ MOU - Memorandum of Understanding ระหว่าง University of Health Sciences, Lao PDR and Mahasarakham University, Thailand และร่วมกับศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ภาคอีสาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม , ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยการสนับสนุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุมความร่วมมือเพื่อสร้างกลไกการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยาไทย - สปป.ลาว ขึ้น โดยกำหนด 3 ประเด็นแลกเปลี่ยน ดังนี้
1. ระบบการเฝ้าระวังและเชื่อมต่อข้อมูลยาและผลิตภัณฑ์
2. การเข้าถึงยาที่ปลอดภัยและหลักประกันสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ผ่านกลไก อสม.ชายแดน
3. ยาปลอดภัยในชุมชนพื้นที่ชายแดนทั้ง2ประเทศ
นอกจากนี้ยังได้แลกเปลี่ยนประเด็นยาในฟาร์ม เชื้อดื้อยา RDU และบทบาทเภสัชกรในหน้าที่ต่างๆรวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการเฝ้าระวังข้อมูลยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17

ฉบับ

บท

บทเรียนการทำงาน Lesson Learned