ระบาดวิทยาของการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ (กรณีศึกษา:ผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร)
คำสำคัญ:
ระบบเฝ้าระวังความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร ฟ้าทะลายโจรบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรที่รายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์ฯเข้ามาในระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ระหว่างปี 2562-2566 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้รับรายงานการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรจากสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสถานพยาบาลเอกชนทั้งสิ้น 785 ราย เป็นผู้ป่วยหญิงมากกว่าชาย ในสัดส่วน 1.42:1 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 43.36±16.61 ผู้ได้รับผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18-65 ปี ผู้ป่วยที่ได้รับผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร ร้อยละ 71.02 ไม่มีโรคประจำตัว เป็นผู้ที่ไม่มีประวัติแพ้ยาเท่ากับร้อยละ 88.66 ผู้ป่วยที่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ฯที่ร้ายแรงจำนวน 192 ราย มีอายุระหว่าง 18-65 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 76.04) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ฯที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ภาวะ maculopapular rash (ร้อยละ 12.36) รองลงมาคือ urticaria (ร้อยละ 12.10) ภาวะ rash (ร้อยละ 10.06) ภาวะ angioedema (ร้อยละ 18.98) และภาวะ anaphylactic reaction (ร้อยละ 6.24) มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร จำนวน 2 ราย เมื่อวิเคราะห์ชนิดของผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ฯ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดเหตุการณ์ไม่ถึงประสงค์ฯมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจร รองลงมาคือผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากกัญชา และผลิตภัณฑ์สมุนไพรเถาวัลย์ปรียงตามลำดับ ผู้ป่วยที่ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจร จำนวน 100 ราย (ร้อยละ 27.73) มีอาการร้ายแรง พบผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาจากฟ้าทะลายโจร ทั้งสิ้น 372 ราย สัดส่วนหญิงเท่ากับชาย อายุที่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ฯ มากที่สุดอยู่ระหว่าง 18-65 ปี เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ฯที่พบมากที่สุดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจร คือ ภาวะ maculopapular rash จำนวน 52 ราย รองลงมาคือภาวะ urticaria จำนวน 50 ราย ผลการศึกษาพบว่าการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยังคงพบอาการแพ้ หรืออาการแพ้ที่รุนแรงได้เช่นเดียวกับการศึกษาที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในระบบผิวหนัง อาจมีอาการที่ร้ายแรง และผู้ป่วยไม่มีประวัติแพ้มาก่อน ทำให้การจัดการความเสี่ยงมีความสำคัญ
References
สุวรรณเกษาวงษ์ ปส. ระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศไทย2016.
Niyomnaitham S, Chuensakun N, Prachakit S, Pakjamsai C, Akarasereenont P. Adverse Events of Traditional Medicines and Herbal Products in the Thai Health Product Vigilance Center Database and the Ayurved Clinic of Applied Thai Traditional Medicine, Siriraj Hospital. Siriraj Medical Journal. 2023;75(5):377-91.
Hongsirinirachorn M, Threeprasertsuk S, Chutaputti A. Acute hepatitis associated with Barakol. Journal of the Medical Association of Thailand= Chotmaihet Thangphaet. 2003;86:S484-9.
Wiwanitkit V, editor Cassia siamea induced hepatitis, a case report of phytomedicine side effect. III WOCMAP Congress on Medicinal and Aromatic Plants-Volume 6: Traditional Medicine and Nutraceuticals 680; 2003.
Shin H-K, Jeong S-J, Lee MS, Ernst E. Adverse events attributed to traditional Korean medical practices: 1999-2010. Bulletin of the World Health Organization. 2013;91:569-75.
Kongkaew C, Phan DTA, Janusorn P, Mongkhon P. Estimating Adverse Events Associated With Herbal Medicines Using Pharmacovigilance Databases: Systematic Review and Meta-Analysis. JMIR Public Health and Surveillance. 2024;10(1):e63808.
Suwankesawong W, Saokaew S, Permsuwan U, Chaiyakunapruk N. Characterization of hypersensitivity reactions reported among Andrographis paniculata users in Thailand using Health Product Vigilance Center (HPVC) database. BMC complementary and alternative medicine. 2014;14:1-7.
Safety Review of Andrographis Paniculata and Anaphylactic/Allergic Reactions [Internet]. 2015.
Wechwithan S, Suwankesawong W, Sornsrivichai V, McNeil EB, Jiraphongsa C, Chongsuvivatwong V. Signal detection for Thai traditional medicine: examination of national pharmacovigilance data using reporting odds ratio and reported population attributable risk. Regulatory Toxicology and Pharmacology. 2014;70(1):407-12.
Spontaneous reports of adverse drug reaction. 2018-2023, .
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมเภสัชสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัดแห่งประเทศไทย และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว