การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาปฐมพยาบาล ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ด้วยเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาโสตทัศนศึกษาทางการแพทย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ ยอดคง วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก
  • กาญจนา นิ่มสุนทร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก
  • สัณณ์ภณ ตะพังพินิจการ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ, กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์, เพื่อนช่วยเพื่อน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการเรียนการสอนวิชาการปฐมพยาบาล, (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์โดยใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนในรายวิชาการปฐมพยาบาล และ (3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาโสตทัศนศึกษาทางการแพทย์
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาโสตทัศนศึกษาทางการแพทย์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 42 คน ดำเนินการ 4 ระยะ คือ (1) เตรียมการพัฒนารูปแบบ (2) พัฒนารูปแบบ (3) นำรูปแบบไปทดลองใช้ และ (4) ประเมินผลการทดลองใช้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม  และใช้แบบประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test
ผลการวิจัย: รูปแบบการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย 4 ขั้นตอน (1) Group เป็น กระบวนการแบ่งกลุ่มนักศึกษาเพื่อศึกษาและทำงานร่วมกัน, (2) Learn เป็นกระบวนการศึกษาหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ ที่ต้องการให้นักศึกษาเรียนรู้ ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงภายในกลุ่มกับอาจารย์ที่ปรึกษา, (3) Share เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนักศึกษาแต่ล่ะกลุ่มย่อยหลังจากที่มีความเชี่ยวชาญ และ (4) Do เป็นการมอบหมายให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มถ่ายทำการปฐมพยาบาล ผ่านสื่อวีดีโอ
ผลลัพธ์จากการใช้รูปแบบดังกล่าวพบว่า คะแนนความรู้ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทักษะที่สำคัญของผู้เรียนตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.61) และความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (μ =4.09)

References

Praboromarajchanok Institute. Diploma in Medical Audiovisual Education Program (Revised Curriculum 2013). Nonthaburi: Praboromarajchanok Institute; 2013. [in Thai]

Panich V. Learning Formation toward the 21st Century. Bangkok: Siam CommercialFoundation; 2013. [in Thai]

Donkaew P. Use of peer-assisted learning strategies to develop psychomotor skills in volleyball playing of Mathayom Suksa 1 students at Wiang Moek Vittaya School [Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2017. [in Thai]

Pongjanta A. The development of learning achievement on general chemistry by using peer assisted learning for Health Science students. Chiang Rai: School of Health Science, Chiang Rai Rajabhat University; 2014. [in Thai]

Bumroong C. The development of English-speaking skill using peer-assisted learning inMathayom Suksa 1 students [Thesis]. Mahasarakham: Mahasarakham University; 2004. [in Thai]

Yodtape K. The effect of team assisted individualization on mathematics problems solving ability of prathomsuksa V students Watweluwanaram School in Bangkok. Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts). 2014; 7(2): 89-105. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-08-2021