ปัจจัยรายด้านมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่มีผลต่อการ ตัดสินใจใช้บริการศูนย์บริหารร่างกาย ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • กมล มัยรัตน์ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

สถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (ฟิตเนส), การตัดสินใจ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจใช้บริการ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยรายด้านมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกับการตัดสินใจใช้บริการ และอำนาจการทำนายปัจจัยรายด้านมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการศูนย์บริหารร่างกาย ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ขนาดตัวอย่างได้จากการคำนวณด้วยสูตรของ Daniel (2014) จำนวน  376 คน จากผู้มาใช้บริการ โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 68.6) อายุ 31–40 ปี (ร้อยละ 37.0) สถานภาพ โสด (ร้อยละ 48.7) การศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 62.2) อาชีพรับราชการหรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 32.7) ระดับรายได้อยู่ที่เดือนละ 10,001 – 20,000 บาท (ร้อยละ 34.3) ระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการศูนย์บริหารร่างกาย ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี อยู่ในระดับมาก ( =4.02, SD = 0.43) ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการตัดสินใจใช้บริการศูนย์บริหารร่างกาย ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ได้ดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นมากกว่าร้อยละ 95 เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ มาตรฐานด้านอุปกรณ์ออกกำลังกาย มาตรฐานด้านบุคลากรผู้ให้บริการ มาตรฐานด้านความปลอดภัยและมาตรการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และมาตรฐานด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และปัจจัยร่วมเหล่านี้มีอำนาจการทำนายร้อยละ 41.6 (R2Adj = 0.416)

ผลการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนแนวคิดการจัดมาตรฐานการให้บริการศูนย์บริหารร่างกายศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรีที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้บริการ ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบสามารถนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาการจัดบริการของศูนย์บริหารร่างกายให้ดียิ่งขึ้นไปโดยเน้นที่ปัจจัยดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนการจัดเครื่องออกกำลังกาย และบุคลากรให้มีความเพียงพอกับการให้บริการ รวมทั้งการดูแลด้านความปลอดภัยกรณีเหตุฉุกเฉิน

References

1. Division of Physical Activity and Health. Recommendations for the establishment of fitness standards for health (fitness). 2nd edition. Bangkok: Printing House, The War Veterans Organization of Thailand; 2012. (in Thai)
2. Division of Physical Activity and Health. Manual for standard of fitness establishment No.1. Bangkok: Kaew Chao Chom Publishing Center; 2014. (in Thai)
3. Public Health Act, B.E. 2535 Notification of the Ministry of Public Health Re: Activities hazardous to health (2015) Government Gazette Volume 132 Special Section 165 (June 3, 2015). (in Thai)
4. Kotler P. Principle of Marketing. 6th ed. New Jersey: Prentice Hall; 1993.
5. Daniel WW. Biostatistics: basic concepts and methodology for the health sciences. 9th ed. Asia: John Wiley & Sons; 2010.
6. Pornwijitjinda W. Factors Influencing Decision to Use a Fitness Center, Case Study Ture Fitness and Fitness First. Thammasat University, Faculty of Economics, Department of Business Economics; 2013. (in Thai)
7. Kamolsuthi N and others. Factors Influencing Fitness Center Membership
Decision Making Behavior. Siam University, Department of Marketing; 2007.
(in Thai)
8. Prajerdchaiwong K. Factors Affecting Membership Renewal of Healthcare Branch System Consumers in Bangkok. Thammasat University, Faculty of Economics, Department of Business Economics; 2005. (in Thai)
9. Somboonwan M. Factors that affecting Customer decision toward Fitness Center people in Bangkok. Thammasat University, Faculty of Commerce and Accountancy; 2015. (in Thai)
10. Charoenprabkul B and Manahiranwet P. Factors affecting choice behavior
Customer service in Bangkok A case study of users of Fitness First Fitness Center. Journal of Rangsit Graduate Studies in Business and Social Sciences. 2014; 1 (1), 104-117. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

21-03-2021