การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสุขในการทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • นิยม ศิริ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

ความสุขในการทำงาน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและเพื่อประเมินผลรูปแบบการเสริมสร้างความสุขในการทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บุคลากรสาธารณสุข บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรฝ่ายปกครอง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 1,053 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม การสังเกตและการบันทึกภาคสนาม การสัมภาษณ์ และการอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการการดำเนินงานมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1) ด้านการเสริมสร้างสมรรถนะในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 2) ด้านการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์เพื่อป้องกันและควบคุมโรค 3) ด้านการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน และ 4) ด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ผลจากการนำรูปแบบไปปฏิบัติทำให้ อสม.มีความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  มีภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรค และส่งผลทำให้หลังดำเนินการ อสม. มีระดับความสุขในการทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ภัทรา บุรารักษ์, สุพรรณี เบอร์แนล, กนกวรรณ เอี่ยมชัย. โครงข่ายอำนาจและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการสร้างความชอบธรรมระหว่างการระบาดโรคติดเชื้อโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน); 2564.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อยกระดับเป็นหมออนามัยประจำหมู่บ้าน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. การดำเนินงานเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ในชุมชน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

The Bangkok insight. Update Covid-19 [Internet]. Up To Date; 2020 [cited 2020 April 30]. Available from: https://www.thebangkokinsight.com/347285.

ไพรัช จันทสุวรรณโณ. รูปแบบองค์กรแห่งความสุขและคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน). [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. งานได้ผลคนเป็นสุข (Healthy Organization Healthy Productivity). กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2554.

สุนันทา แย้มทัพ. การสื่อสารโรคร้ายอุบัติใหม่ ณ ชายแดน (Communication the Hazardous Disease at the Border). กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์; 2557.

Abraham Thomas. Risk and outbreak communication: lessons from alternative paradigms. Bulletin of the World Health Organization. 2009; 8:604-607.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินกรณีโรคโควิด 19. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน: ม.ป.พ.; 2564.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2552.

ศุภกิจ ศิริลักษณ์. ประสบการณ์การตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

ณฐนนท บริสุทธิ์. การศึกษาสถานการณ์และทิศทางการพัฒนา อสม. ในยุคประเทศไทย 4.0. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2563.

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ, ยุคนธ์ เมืองช้าง. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;5:68-69.

ชาญชัย จิวจินดา. รูปแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม. วารสารนวัตกรรมสังคม 2563;2:41-42.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม และ นวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563;14:92-103.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-04-2022