การประเมินผลการดำเนินงาน อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนสู่การปฎิบัติในพื้นที่อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
คำสำคัญ:
การประเมินผล, อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็ง, การปฏิบัติบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนสู่การปฏิบัติ และเพื่อรับทราบปัญหาความต้องการหรือความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการดำเนินงานอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนสู่การปฏิบัติ ในพื้นที่อำเภอเมืองอ่างทองจังหวัดอ่างทอง เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน 24 คน ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 13 คน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 22 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 81 คน รวม 140 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยตรวจสอบความถูกต้องและความเชื่อมโยงของข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า
ผลการศึกษาพบว่า การประเมินผลการดำเนินการควบคุมโรคในอำเภอเข้มแข็งแบบยั่งยืนทั้ง 5 ด้านได้แก่ ด้านความตรงเนื้อหาอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 86.50) ในขณะที่อีก 4 ด้านได้แก่ ความครอบคลุม ความเชื่อมโยง ความยืดหยุ่น และความเป็นไปได้ มีคะแนนการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 99.89, ร้อยละ 100, ร้อยละ 100 ร้อยละ 98.53 ตามลำดับ) และความต้องการและความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น ได้แก่ มีแนวทางในการดำเนินงานเพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคประจำถิ่นลดอัตราตายของโรคติดต่อประจำถิ่น และโรคติดต่อร้ายแรงที่ป้องกันได้ ต้องการให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ในเรื่องโรคและภัยสุขภาพที่ยั่งยืนตลอดไป มีการบูรณาการกับนโยบายหรืองานอื่น ๆ มีการสนับสนุนองค์ความรู้แก่ทีมดำเนินงาน มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์เรื่องโรคและภัยสุขภาพให้ถึงประชาชน ความต่อเนื่องในการดำเนินงานตามนโยบายของกรมควบคุมโรค มีการกำหนดตัวชี้วัดในโรคต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานสนับสนุนด้านวิชาการหรือนวัตกรรมรูปแบบใหม่
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประเมินอาเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนปี2556 [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565] เข้าถึงได้จาก: http://data.ptho.moph.go.th/cdc/files/news/f01_20121219085230_93010000.pdf.
กองแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์กรมควบคุมโรคปี 2554-2558. นนทบุรี:กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
สำนักจัดการความรู้ กระทรวงสาธารณสุข. อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ [อินเตอร์เน็ต].2559. [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565] เข้าถึงได้จาก: http://irem.ddc.moph.go.th/uploads/book/581316681ea7f.pdf.
สำนักจัดการความรู้ กระทรวงสาธารณสุข.อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนภายใต้ระบบสุขภาพอำเภอ [อินเตอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565] เข้าถึงได้จาก:http://103.40.150.229/DPC5/58-ManualAmphur.pdf.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง. สรุปผลการประเมินผลงานตามตัวชี้วัดประจาปี 2564. อ่างทอง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทอง; 2564.
กริ่งแก้ว สะอาดรัตน์, ฉันทนา เจนศุภเสรี, กิตติ พุฒิกานนท์ และพรทิพา นิลเปลี่ยน. การประเมินผลการบริหารจัดการโครงการอาเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนระดับอำเภอปีงบประมาณ 2555. วารสารควบคุมโรค. 2558; 41(3): 179-189.
Mazmanian DA, Sabatier PA. Implementation and Public Policy.Latham, MD: University Press of America; 1989.
จรรยา ภู่กลั่น. การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ทีความแตกต่างระหว่างผลการประเมินอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนของเขตกับจังหวัดในเขตรับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดชลบุรี ปี 2555.นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
อธิพันธ์ ศิริธรรมาภรณ์, เทิดศักดิ์ พรหมอารักษ์ และกระจ่าง ตลับนิล. การพัฒนารูปแบบการดาเนินงานอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนในเขตพื้นที่อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2558; 21(4): 747-760.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.