ผลของการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความเครียดและความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กภาวะวิกฤต

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ สุทธิศักดิ์สุนทร กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลชลบุรี
  • นิภาภรณ์ ชื่นอร่าม กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลชลบุรี
  • พรทิพา ศุภราศรี กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

การให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผน, ความเครียด, ความพึงพอใจ, ผู้ดูแลเด็กภาวะวิกฤต

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความเครียดและความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กภาวะวิกฤต คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 40 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการได้รับข้อมูลปกติ กลุ่มควบคุมได้รับข้อมูลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนกิจกรรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผน และคู่มือ“ทำอย่างไรเมื่อลูกเข้าไอซียู” 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลเด็กและผู้ป่วยเด็ก 3) แบบสอบถามความเครียดของผู้ดูแลเด็กภาวะวิกฤต และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลเด็กภาวะวิกฤต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติที ผลการวิจัยพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแลเด็กภาวะวิกฤตหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง (M=2.37, SD=0.32) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (M=3.27, SD=0.34) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=8.66, p<.05) และมีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง (M=4.36, SD=0.29) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M=3.53, SD=0.39) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   (t=7.72,  p<.05)

จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนสามารถลดความเครียดและช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ดูแลเด็กภาวะวิกฤตได้ ดังนั้นพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมควรนำแผนการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล

References

เรณู พุกบุญมี และดวงฤทัย บัวด้วง. การดูแลเด็กที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว. ใน รุจา ภู่ไพบูลย์, บรรณาธิการ.การพยาบาลเด็กสุขภาพดีและเด็กป่วย: Nursing care plan for health and ill children.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา; 2558.

Bolosi, M. Depressiveand anxiety symptoms in relatives of intensive care unit patients and the perceived need for support. Journal of Neuroscience Rural Practice.2018; 9(4):552-558.

วิจิตรา กุสุมภ์ และสุนันทา ครองยุทธ. ผลกระทบด้านจิตใจในผู้ป่วยวิกฤต: กลยุทธ์ในการจัดการ.วารสารพยาบาล. 2560;69(3):53-61.

จงใจ จงอร่ามเรือง, เรณู พุกบุญมี และศรีสมร ภูมนสกุล. ผลของการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายแบบองค์รวมต่อความสุขสบายของผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤตที่ใช้เครื่องช่วยหายใจตามการรับรู้ของผู้ดูแล. กุมารเวชสาร. 2557;21(3):7-12.

Memaj, M. A., & Agolli, I. Reflection and experiences of parent during hospitalizationof children and support provided by staff at the pediatric hospital of Tirana. Journal of Education and Social Research. 2015;5(3):251-254.

Delaney, L. J., Haren, F. V., & Lopez, V. Sleeping on a problem: The impact of Sleep Disturbance on intensive care patients –a clinical review. Annals of Intensive Care. 2015;5(3):1-10.

นันท์นริน ทีฆวิวรรธน์. ความวิตกกังวลจากการพรากจากในเด็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2560;40(2):130-136.

Topu, S., Alpar, E., Gulseven, B., & Kebapci, A. Patient experiences in intensive careunits: A systematic review. The Revista Brasileira de Terapla Intensiva. 2017;27(1):18-25.

Wiseman, T. A., Curtis, K., Lam, M., & Foster, K. Incidences of depression, anxietyand stress following traumatic injury: A longitudinal study. Scandinavian Journal of Trauma, Resuscitation and Emergency Medicine; 2015: 23.

กฤติญาดา เกื้อวงศ์.โควิด-19:แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเด็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2563;43(4):1-11.

บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์ และเนตรนภา เทพชนะ. ผลของการเตรียมความพร้อมตามความต้องการของมารดาต่อความพึงพอใจและความวิตกกังวลของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกาหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด. พยาบาลสงขลานครินทร์. 2555;32(2):1-21.

Vlake, J. H., Van Genderen, M. E., Schut, A., Verkade, M., Wils, E. J., Gommers, D., & VanBommel, J. Patients suffering from psychological impairments following Critical illness are in need of information. Journal of Intensive Care. 2020;8(6):1-10.

Kaewpram, P., Thampanichawat, W., Payakkaraung, S. The relationship betweenperceived importance of information, understanding of information and anxiety of parents of children in recovery phase after cardiac surgery. Journal Nursing Science. 2014;32(3):85-92.

Puntanit, U. Concept of pediatric critical care nursing. In: Musiksukont S,Diloksakulchai F, Lerthamtewe W, et al., editors. Pediatric nursing (2nded). Bangkok:Sahamit Printing and Publishing; 2018.

อรุณ ดวงประสพสุข และโสพิศ สุมานิต. ผลของการให้ข้อมูลอย่างเป็นระบบและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองผู้ป่วยเด็กวิกฤต หอผู้ป่วยเด็กวิกฤต (PICU). โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2557; 28(4):867-872.

นิรมนต์ เหลาสุภาพ. ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียดส าหรับญาติผู้ป่วยวิกฤตต่อความเครียดของญาติ. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2557;20(1):67-81.

นิตยา อิสรโชติ, มยุรี นภาพรรณสกุล และบุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์.ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กป่วยต่อความเครียดของมารดาเด็กป่วยหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม.[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, การพยาบาลเด็ก]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

Millet, J. D.Management in the publics service: The quest for effective performance. New York: Mcgraw-Hill Book Compan; 2012.

House, J. S. Work stress and social support. California: Addison-Wesley; 1981.

อำพร มะลิวัลย์, ยุวมาลย์ ศรีปัญญวุฒิศักดิ์ และสมพิศ อรรถกมล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยหนัก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2557; 7(2):95 –108.21Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nded.). New Jersey: Lawrence Erlbaun Associates; 1988.

Best, J. W. Research in education (3rded.). Englewood cliffs, New Jersey: Prentice –Hall; 1977.

สุชญาดา ขุนเสถียร, วรรณา อาราเม, ปราณี ทองใส และถาวร ทรัพย์ทวีสิน. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลในมารดา/ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในภาวะวิกฤตภายหลังการผ่าตัด.วารสารพยาบาลศิริราช. 2555;5(1):1-13.

ทศพร ธรรมรักษ์, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์ และอรพรรณ โตสิงห์. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนครอบครัวต่อการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมองในหอผู้ป่วยวิกฤต. วารสารสภาการพยาบาล.2560;32(2):49 –64.

ปิ่นสุดา สังฆะโณ,บุษกรพันธ์ เมธาฤทธิ์ และพิสมัยวัฒนสิทธิ์. ผลของการให้ข้อมูลผ่านทางโมบายแอปพลิเคชั่นต่อความวิตกกังวลของมารดาผู้ป่วยเด็กระยะที่อยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กและเตรียมย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563;40(4):97-110.

Salmani, N., Hasanvand, S., Bagheri, I., & Mandegar, S. Nursing Care BehaviorsPerceived by Parents of Hospitalized children: A qualitative Study. InternationalJournal of Pediatrics. 2017;5(7): 5379-5389.

กนกจันทร์ เขม้นการ, สุวิชัย พรรษา, จิดาภา ผูกพันธ์, จิระวรรณ บุตรพูล และรรฤณ แสงแก้ว.ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลของพยาบาลต่อความรู้และการรับรู้ถึงความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร. 2560; 44(2):71-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-07-2022 — Updated on 27-07-2022

Versions