การศึกษาความถี่ของสมุนไพรจากตำรับยารักษาโรคหละละออง ซาง ในคัมภีร์ปฐมจินดา

ผู้แต่ง

  • นวพร พิมรัตน์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิชกร วงษ์สุวรรณ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จิราภรณ์ จันทาเหลือง วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

รสยาสมุนไพร, โรคในวัยเด็ก, คัมภีร์ปฐมจินดา

บทคัดย่อ

คัมภีร์ปฐมจินดาเป็นคัมภีร์ที่บันทึกเกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นในวัยแรกเกิดถึงอายุ 12 ปี เช่น หละ ละออง ซาง และกล่าวถึงตำรับยาสำหรับใช้รักษาเอาไว้หลายตำรับแต่ไม่มีการบันทึกหลักการเลือกใช้สมุนไพรที่ชัดเจน ดังนั้นผู้วิจัยจึงทาการวิจัยเชิงพรรณนาเกี่ยวกับสมุนไพรในตำรับยาในคัมภีร์ปฐมจินดา ผูกที่ 3 ปริเฉทที่ 1 และ 2 จากหนังสือตำราการแพทย์ไทยเดิม เพื่อศึกษาสมุนไพรจากตำรับยารักษาโรคหละ ละออง ซาง โดยจำแนกตาม 1) ประเภทของสมุนไพรในตำรับยา (เภสัชวัตถุ) 2) รสยา (รสชาติแรกของสมุนไพร) 3) รูปแบบการบริหารยา และ 4) สมุนไพรและกระสายยา

ผลการศึกษาพบว่าตำรับยาที่ใช้ในการรักษาโรคหละ ละออง ซาง จำนวน 231 ตำรับ จำแนกสมุนไพรที่ใช้ในตำรับยาเรียงตามลำดับค่าร้อยละที่พบความถี่มากที่สุดไปน้อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1)  ประเภทของสมุนไพร คือ พืช สัตว์ แร่ธาตุ มีค่าร้อยละ 73.23, 14.13, 12.63 ตามลำดับ 2) รสยาคือ รสขม รสฝาด รสร้อน มีค่าร้อยละ 25.09, 23.06, 16.42 ตามลำดับ 3) รูปแบบการบริหารยา คือ ยารับประทาน ยาใช้ภายนอก ยากวาดหรือทาในช่องปาก มีค่าร้อยละ 65.80, 25.90, 25.50 ตามลำดับ และ 4) ความถี่ของสมุนไพรและกระสายยาที่พบมากที่สุดได้แก่ สุรา ขมิ้นอ้อย น้ำประสานทองสะตุ ใบกะเพรา พิมเสน

สมุนไพรส่วนใหญ่ที่พบในตำรับยามีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบ ฤทธิ์ต้านจุลชีพ ฤทธิ์ต้านไวรัส ซึ่งสัมพันธ์กับสรรพคุณของสมุนไพร ทั้งนี้ควรศึกษาตำรับยาจากตำราแพทย์แผนไทยเพิ่มเติมรวมถึงการทบทวนข้อมูลฤทธิ์ชีวภาพของสมุนไพรอย่างเป็นระบบต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตสภา พ.ศ. 2559. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2560.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯและโรงเรียนอายุรเวทธำรง. ตำราแพทย์ไทยเดิม (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2552.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคมือเท้าปากเปื่อย (HFM) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ13 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=11.

ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงศ์. คำอธิบายตำราโอสถพระนารายณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา; 2548.

หอพระสมุดวชิรญาณ. ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ 4 เรื่องวิชาแพทย์ไทย. พิมพ์แจกในงานศพ นายเชย ชยากร. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร; 2462.

Yan Y, Li X, Zhang C, Lv L, Gao B, Li M. Research progress on antibacterial activities and mechanisms of natural alkaloids: a review. Antibiotics. 2021; 10: 318.

Agyare C, Beko EO, Boakye YD, Dapaah SO, Appiah T, Bekoe SO. Medicinal plants and natural products with demonstrated wound healing properties London. In Tech. 2016; 483-530.

Bugno A, Nicoletti MA, AlmodÓvar AAB, Pereira TC, Auricchio MT. Antimicrobial efficacy of Curcuma zadoaria extract as assessed by linear regression compared with commercial mouth rinses. Brazilian J. Microbiol. 2007; 38: 440-500.

Gharge S, Hiremath SI, Kagawad P, Jivaje K, Palled MS, Suryawanshi SS. Curcuma zedoaria Rosc (Zingiberaceae): a review on its chemical, pharmacological and biological activities. Futur J Pharm Sci. 2021; 7: 166.

Ali H, Dixit S. In vitro antimicrobial activity of flavanoids of Ocimum sanctum with synergistic effect of their combined form. Asian Pac. J. Trop. Dis. 2012: 396-398.

Ullah HM, Zaman S, Juhara F, Akter L, Tareq SM, Masum EH, Bhattacharjee R. Evaluation of antinociceptive, in-vivo & in-vitro anti-inflammatory activity of ethanolic extract of Curcuma zedoaria rhizome. BMC Complement Altern. Med. 2014; 14: 346.

Kumar A, Agarwal K, Maurya AK, Shanker K, Bushra U, Tandon S, Bawankule DU. Pharmacological and phytochemical evaluation of Ocimum sanctum root extracts for its anti-inflammatory, analgesic and antipyretic activities. Pharmacogn. Mag. 2015; 11: 217-24.

Goel A, Singh DK, Kumar S, Bhatia AK. Immunomodulating property of Ocimum sanctum by regulating the IL-2 production and its mRNA expression using rat's splenocytes. Asian Pac. J. Trop. Med. 2010; 3: 8-12.

Ravishankar AG, Mahesh TS. Tankana Bhasma Kavala in Chronic Tonsillitis. Unique J. Ayurvedic Herb. Med. 2013; 1: 41-44.

Bhagat L, Gayathri B, Roga S. A. Comparative clinical study on the efficacy of Palasha Kshara and Tankana in Karnini Yoni Vyapat. Int. J. Ayurveda Res. ISSN: 2347-6362. 2017; 3: 684-692.

Lachenmeier, D. W. Safety evaluation of topical applications of ethanol on the skin and inside the oral cavity. J. Occup. Med. Toxicol. 2008; 3:1: 1-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023