ความรอบรู้สุขภาพจากการใช้งานดิจิทัลและความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการทางสายตาจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ Computer Vision Syndrome (CVS) ของบุคลากร ที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมควบคุมโรค

ผู้แต่ง

  • พงษ์สุธีร์ ทองเกลี้ยง สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค
  • ยงเจือ เหล่าศิริถาวร กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค
  • ระพีพรรณ เสมอใจ กองดิจิทัลเพื่อการควบคุมโรค กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

กลุ่มอาการทางสายตาจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์, ความรอบรู้สุขภาพ, การใช้งานดิจิทัล

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และการใช้สมาร์ทโฟนอยู่ในระดับสูง พบปัญหาทางด้านการมองเห็นสูงถึง 24 ล้านครัวเรือน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้สุขภาพจากการใช้งานดิจิทัล และความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการ Computer vision syndrome (CVS) ในกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 75 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสถิติ Chi-Square และ Multiple regession analysis               

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มอาการ CVS ในกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการมาก ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องมองเห็นภาพซ้อน 47 คน ตาสู้แสงไม่ได้ 21 คน ตาแห้ง 20 คน และพบว่าการหยุดพักสายตาน้อยกว่า 20 นาทีหลังจากทำงานหน้าจอ และพบว่าการมีแสงสว่างที่เพียงพอในการทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเกิดกลุ่มอาการ CVS (p < 0.01) นอกจากนี้ ความรอบรู้สุขภาพจากการใช้งานดิจิทัล อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.70 และทักษะการตัดสินใจที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการ CVS อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การตัดสินใจที่จะหาวิธีการจัดการกับความเสี่ยง (p < 0.01) การตัดสินใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดต่อสุขภาพ (p < 0.01) การคำนึงถึงความเสี่ยงและตัดสินใจที่จะหาวิธีป้องกัน รวมถึงตัดสินใจที่จะทำงานต่อ หรือหยุดทำงาน (p < 0.05) จึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างความรอบรู้สุขภาพจากการใช้งานดิจิทัลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านดิจิทัล โดยเฉพาะด้านการตัดสินใจ การสื่อสารความเสี่ยงรวมถึงการให้องค์กรตรวจสุขภาพสายตา และจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในกลุ่มเสี่ยง ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้วางแผนสร้างความรอบรู้ให้กับองค์กร และหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป

References

Smith J, Doe E. Exploring the impact of prolonged digital screen use on ocular health: A focus on computer vision yndrome. J Digit Eye Health. 2020; 15(3): 200-210.

Datareportal. Digital 2023: Global overview report [Internet]. 2024 [cited 2024 Jan 30]. Available from: https://datareportal.com/reports/digital-2023-global-overview-report.

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูล สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565 [Internet]. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx

World Health Organization (WHO). Global trends in the magnitude of blindness and visual impairment. Prevention of Blindness and Visual Impairment [Internet]. 2023 [cited 2024 Jan 30]. Availiable from: http://www.who.int/blindness/causes/trends/en/.

Akinbinu R. Knowledge of computer vision syndrome among computer users in the workplace in Abuja, Nigeria. J Physiol Pathophysiol. 2013; 4: 58-63.

ปาจรา โพธิหัง. ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์ ในพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2550.

Shantakumari N, Eldeeb R, Sreedharan J, Gopal K. Computer use and vision-related problems among university students in ajman, United Arab Emirate. Ann Med Health Sci Res, 4(2):258-21.

American Optometric Association. The Effects of Computer Use on Eye Health and Vision [Internet]. 2020 [cited 2024 Jan 30]. Available from: https://www.slideshare.net/slideshow/effects-ofcomputeruse/239092120

กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ (พ.ศ.2560 - 2579). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

Blehm C, Vishnu S, Khattak A, Mitra S, Yee RW. Computer vision syndrome: a review. Surv Ophthalmol. 2005; 50(3): 253-62.

พัชนา เฮ้งบริบูรณ์, พงศ์ ใจดี, วัลลภ ใจดี, จิราภัค สุวรรณเจริญ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของแรงงานชาวกัมพูชาที่ประกอบอาชีพในจังหวัดชลบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561; 5(2): 86-93.

Yaacob N, Syamimi M, Abdullah AM, Azmi A. Prevalence of Computer Vision Syndrome (CVS) among undergraduate students of a health-related faculty in a public university. Malaysian J Med Health Sci. 2022; 18(SUPP8): 348-354.

Sheppard AL, Wolffsohn JS. Digital eye strain: prevalence, measurement and amelioration. BMJ Open Ophth. 2018; 3: e000146.

Rosenfield M. Computer vision syndrome (a.k.a. digital eye strain). Optometry. 2016; 83(1): 20-24.

Gowrisankaran S, Sheedy JE. Computer vision syndrome: a review. Work. 2015; 52(2): 303-314.

Fang Y, Liu C, Zhao C, Zhang H, Wang W, Zou N. A study of the effects of different indoor lighting environments on computer work fatigue. Int J Environ Res Public Health. 2022; 19(11): 6866.

Oliveira S, Errea M, Bialek J, Kendall M, McCarthy R. The impact of health literacy on shared decision making before elective surgery: a propensity matched case control analysis. BMC Health Services Research. 2018; 18: 958.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-06-2024