การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดและระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นในเวลาราชการ ของกลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • Kannika Wamanon

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด, การดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดและระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นในเวลาราชการ ดำเนินการตั้งแต่ เดือน มกราคม 2558 ถึง มิถุนายน 2560 กลุ่มตัวอย่าง คือ วิสัญญีพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่รับไว้ดูแลในห้องพักฟื้น  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยหลังผ่าตัด แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของวิสัญญีพยาบาลต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดและระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นในเวลาราชการที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยาย ความถี่และร้อยละ

พบว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดและระงับความรู้สึกในห้องพักฟื้นในเวลาราชการที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย     5 ส่วน ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้าด้านผู้ให้บริการ 2) ปัจจัยนำเข้าด้านผู้รับบริการ 3) กระบวนการ 4) ปัจจัยแวดล้อม 5) ผลลัพธ์  ผลจากการนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นพบว่า ด้านผู้ป่วย 1) ร้อยละของผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้รับการดูแลในห้องพักฟื้นในเวลาราชการ เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 18.81 เป็น ร้อยละ 96.52 โดยไม่เพิ่มบุคลากรวิสัญญี 2) ร้อยละของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังตามมาตรฐานการดูแลในห้องพักฟื้น เป็น ร้อยละ 100 3) ร้อยละของผู้ป่วยที่ย้ายออกจากห้องพักฟื้นมีความพร้อมตามเกณฑ์บ่งชี้ เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 98.63 เป็น ร้อยละ 99.10 และ 4) ภาวะแทรกซ้อนขณะดูแลในห้องพักฟื้น ลดลงจาก ร้อยละ 6.16 เป็น ร้อยละ 0.90 โดยระดับความรุนแรงของอุบัติการณ์ต่ำกว่าระดับ G ด้านผู้ให้บริการพบว่า วิสัญญีพยาบาลปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลตาม แนวทางการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้น ในภาพรวม ร้อยละ 94.33 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้น ในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31