ต้นทุนกิจกรรมการส่องกล้องโพรงจมูก เพื่อประเมินผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สิทธิ เชาวน์ชื่น โรงพยาบาลมะเร็ง
  • พรทิพย์ กีระพงษ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ต้นทุนการบริการการส่องกล้องโพรงจมูก, การส่องกล้องโพรงจมูก, มะเร็งโพรงจมูก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนทางตรง ทางอ้อม ต้นทุนรวม และ ต้นทุนต่อหน่วยของงานบริการการส่องกล้องโพรงจมูกในผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกเพื่อประเมินสภาวะของมะเร็งโพรงจมูก รวมถึงเปรียบเทียบเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยกับค่าบริการที่เรียกเก็บตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วย ใช้วิธีวิเคราะห์ต้นทุนตามแบบวิธีการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรม เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 ตัวอย่างที่ศึกษาคือประชากรทั้งหมด ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งให้ข้อมูลการทำกิจกรรมจำนวน 9 คน และผู้ป่วยจำนวน 103 คนที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าที่กำหนดคือ ผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกอายุ 18 ปีขึ้นไปที่นัดเข้ามารับการส่องกล้องโพรงจมูกเพื่อประเมินรอยโรค มีผลชิ้นเนื้อยืนยันว่าเป็นมะเร็งชนิดเยื่อบุ มะเร็งเม็ดสี โดยไม่รวมผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ หญิงตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่มีข้อห้ามในการส่องกล้องโพรงจมูก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยพจนานุกรมกิจกรรม แบบบันทึกเวลา แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย โดยมีค่าความตรงของแบบบันทึกเท่ากับ 0.97 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย อัตราส่วน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนทางตรงของกิจกรรมการส่องกล้องโพรงจมูกคือ 41,774.79 บาท เป็นค่าแรงบุคลากร 25,671.30 บาท ค่าวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ 11,795.70 บาท และค่าเสื่อมครุภัณฑ์ทางการแพทย์ 4,307.79 บาท ส่วนต้นทุนทางอ้อมคือ 20,867.15 บาท เป็นค่าเสื่อมอาคาร 12,618.04 บาท ค่าสาธารณูปโภค 7,666.13 บาท และค่าเสื่อมครุภัณฑ์สำนักงาน 582.98 บาท ต้นทุนรวมของกิจกรรมบริการการส่องกล้องโพรงจมูกคือ 62,641.93 บาท อัตราส่วนต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 40.98 : 18.83 : 40.19 ต้นทุนต่อหน่วยของกิจกรรมการส่องกล้องโพรงจมูกคือ 608.17 บาท และ (3) รายได้ที่โรงพยาบาลสามารถเรียกเก็บจากแต่ละกองทุนตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วยในราคา 800 บาทต่อราย เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนต่อหน่วยของกิจกรรมการส่องกล้องโพรงจมูกที่คำนวนได้จากการศึกษานื้ คือ 608.17 บาท เป็นจำนวนเงินที่มีความเหมาะสมสำหรับโรงพยาบาลเพื่อใช้ในการจัดบริการดังกล่าว

References

Wei C, Hong-Da C, Yi-Wen Y, Ni L, Wan-Qing C. Changing profiles of cancer burden worldwide and in China: a secondary analysis of the global cancer statistics 2020. Chin Med J (Engl) [Internet]. 2021 Apr 5 [cited 2023 Apr 30]; Available from: https://mednexus.org/doi/10.1097/CM9.0000000000001474

Sung H, Ferlay J, Siegel RL, Laversanne M, Soerjomataram I, Jemal A, et al. Global Cancer Statistics 2020: GLOBOCAN Estimates of Incidence and Mortality Worldwide for 36 Cancers in 185 Countries. CA Cancer J Clin [Internet]. 2021 May 1 [cited 2023 Apr 30];71(3):209–49. Available from: https://acsjournals.onlinelibrary.wiley.com/doi/10.3322/caac.21660

Chen S, Cao Z, Prettner K, Kuhn M, Yang J, Jiao L, et al. Estimates and Projections of the Global Economic Cost of 29 Cancers in 204 Countries and Territories From 2020 to 2050. JAMA Oncol [Internet]. 2023 Apr 1 [cited 2023 Apr 30];9(4):465–72. Available from: https://jamanetwork.com/journals/jamaoncology/fullarticle/2801798

ศรีวณิชชากร ส. สถานการณ์การป่วยและการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ โรคหัวใจและหลอดเลือด) ในประเทศไทย ในระยะ 5 ปี (2553-2557). Dis Control J [Internet]. 2017 Dec 29 [cited 2023 Apr 24];43(4):379–90. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/151715

Vatanasapt P, Suwanrungruang K, Kamsa-Ard S, Promthet S, Parkin MDM. Epidemiology of oral and pharyngeal cancers in Khon Kaen, Thailand: a high incidence in females. Asian Pac J Cancer Prev APJCP. 2011;12(10):2505–8.

Kamsa-ard S, Tangvorapongchai V, Kamsa-ard S, Phomthet SS. Factors Affecting Survival of Nasopharynx Cancer (NPC) Patients in Northeast Thailand after Radiation Treatment. Srinagarind Med J [Internet]. 2010 [cited 2023 Apr 30];25(2):131–64. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/12864

Bhattacharyya N. Cancer of the Nasal Cavity: Survival and Factors Influencing Prognosis. Arch Otolaryngol Neck Surg [Internet]. 2002 Sep 1 [cited 2019 Jan 29];128(9):1079–83. Available from: https://jamanetwork.com/journals/jamaotolaryngology/fullarticle/483046

Brennan B. Nasopharyngeal carcinoma. Orphanet J Rare Dis [Internet]. 2006 Jun 26 [cited 2017 May 25];1:23. Available from: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1559589/

Ho JY, Ting SH, Podin Y. Nasopharyngeal Cancer in Malaysia: Perceived Severity, Susceptibility, and Barriers in Risk Messages. Hum Behav Dev Soc [Internet]. 2022 Aug 18 [cited 2023 Apr 16];23(2):94–104. Available from: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/hbds/article/view/254838

Colevas AD, Yom SS, Pfister DG, Spencer S, Adelstein D, Adkins D, et al. NCCN Guidelines Insights: Head and Neck Cancers, Version 1.2018. J Natl Compr Canc Netw [Internet]. 2018 May 1 [cited 2019 Jan 29];16(5):479–90. Available from: http://www.jnccn.org/content/16/5/479

Wenig BM. Nasopharyngeal carcinoma. Ann Diagn Pathol [Internet]. 1999 Dec 1 [cited 2019 Jan 29];3(6):374–85. Available from: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1092913499800173

Binazzi A, Ferrante P, Marinaccio A. Occupational exposure and sinonasal cancer: a systematic review and meta-analysis. BMC Cancer [Internet]. 2015 Feb 13 [cited 2019 Jan 29];15. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4339645/

Khamho M, Wanitkun N, Danaidutsadeekul S, Thephamongkhol K. โมเดลการทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอหลังได้รับรังสีรักษา. Nurs Sci J Thail [Internet]. 2018 Jun 30 [cited 2023 Apr 16];36(2):54–66. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/146586

เจรจาปรีดี ม. การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของการรักษาผู้ป่วยภูมิแพ้โดยการฉีดวัคซีนที่คลินิกภูมิแพ้ ห้องตรวจโรคหู คอ จมูก โรงพยาบาลตำรวจ. R Thai Army Med J [Internet]. 2009 [cited 2019 Jan 31];221–8. Available from: https://www.tci-thaijo.org/index.php/rtamedj/article/view/11512

อำพล ศ, เพ็ญศิรินภา น, กีระพงษ์ พ. การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการบริการตรวจวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมในงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน [Internet]. 2564 [cited 2023 Apr 23];7(02): 62-62. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/248779

ศุภสาร ป, วิเศษฤทธิ์ ว. การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. J R Thai Army Nurses [Internet]. 2018 [cited 2023 Jul 6];19:158–65. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/164669

Institute N cancer. มะเร็งรักษาได้ทุกที่ ที่มีความพร้อม. J Dep Med Serv [Internet]. 2022 Dec 28 [cited 2023 Apr 23];47(4):5–9. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JDMS/article/view/260375

อัตราค่าบริการสาธารณสุข เพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ (ใช้บังคับ วันที่ 1 ธันวาคม 2549) [Internet]. [cited 2023 Oct 16]. Available from: https://dmsic.moph.go.th/index/detail/3421

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30