ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำ ในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของมารดา, เด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, ยาเคมีบำบัด, สมรรถนะแห่งตนของมารดาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ
เขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาของเด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวอายุแรกเกิดถึง 15 ปี ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด จำนวน 84 ราย คัดเลือกแบบสะดวก รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาและเด็กป่วย แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของมารดา แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนของมารดา แบบสอบถามการสื่อสารระหว่างมารดากับพยาบาล และแบบสอบถามการสนับสนุนจากพยาบาล มีค่าความเชื่อมั่นแอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .90 .80 .81 และ .90 ตามลำดับ ส่วนแบบสอบถามความรู้ของมารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรคูเดอร์–ริชาร์ดสัน เท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะแห่งตนของมารดามีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับยาเคมีบำบัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .377, p<.001) และสามารถทำนายการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 14.2 (β = .377, t = 3.689, p < .001) ความรู้ของมารดาเด็กป่วย การสื่อสารระหว่างมารดากับพยาบาล และการสนับสนุนจากพยาบาล พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของมารดา
( p>.05) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพ ควรส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนของมารดา เพื่อให้มารดามีส่วนร่วมในการดูแลเด็กป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
Abdelkader, R. H., Al-Hussami, M., Saleh, M. Y. N., Mahadeen, A. I., & Kadere, I. M. (2012). Jordanian parents’ needs while their child is hospitalized. Jordan Medical Journal, 46(1), 18-27.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and company.
Boonroad, S. (2010). Effects of family participation program on ability and satisfaction of
caregiver for children with acute illness. Master’s thesis, Department of Nursing,
Burapha University. [In Thai]
Cohen, J. (1992). A power primer. Psychological Bulletins, 112, 155-159.
perspectives. Journal of Clinical Nursing, 15, 61-71.
Kantahong, K., Niyomkar, S., & Lamchang, S. (2015). Factor predicting parent participation in
caring for hospitalized children with acute illness. Nursing Journal, 42(3), 1-12. [In Thai]
Kaphan, K., Kantawang, S., & Jintrawet, U. (2010). Parent participation in caring for critically ill children in pediatric intensive care unit and related factors. Nursing Journal, 37(3), 62-75. [In Thai]
Pongjaturawit, Y., Chontawan, R., Yenbut, J., Sripichyakan, K., & Harrigan, R. C. (2006). Parent participation in the care of hospitalized young children. Thai Journal of Nursing Research, 10(1), 18-28.
Pyke-Grimm, K. A., Stewart, J. L., Kelly, R. P., & Degner, L. F. (2006). Parents’ of children with cancer: Factors influencing their treatment decision making roles. Journal of Pediatric
Nursing, 21(5), 350-361.
Rattanapiboon, K., Kongsaktrakul, C., & Patoomwan, A. (2011). Parent participation in the care
of hospitalized children. Ramathibodi Nursing Journal, 17(12), 232-247. [In Thai]
Rujkijyanont, P. (2014). Childhood Leukemia. In Torcharus, K., Stawarn, D., Sirithangkul, S., & Gengsakul, A. (Ed.), Texbook of pediatric (pp. 514-527). Bangkok: Pow Voon. [In Thai]
Samit, J., Lamchang, S., & Mesukko, J. (2013). Informational support, self-efficacy and parent participation in caring for hospitalized children with acute illness. Nursing Journal, 40(4), 114-125. [In Thai]
Schepp, K. (1995). Psychometric assessment of the preferred participation scale for parent of hospitalized children. Unpublished manuscript, University of Washington, School of Nursing, Seattle, WA.
Tarini, B. A., Christakis, D. A., & Lozano, P. (2007). Toward family-centered inpatient medical
care: The role of parents as participants in medical decisions. The Journal of
Pediatrics, 22(5), 690-695.
Thajai, S., Lamchang, S., & Chotibang, J. (2014). Parent participation in preventing infection among pediatric patients with cancer receiving chemotherapy and related factors.
Nursing Journal, 41(4), 83-94. [In Thai]
Tourabouth, M., Lamchang, S., & Aree, P. (2013). Maternal participation in caring for
hospitalized children with acute illness, Lao people’s democratic republic and
related factors. Nursing Journal, 40(1), 102-114. [In Thai]
Tungpaibool, P. (2008). Factors predicting maternal behavior in caring for children with
cerebral palsy. Master’s thesis, Department of Pediatric nursing, Mahidol University.
Ward, E., Desantis, C., Robbins, A., Kohler, B., & Jemal, A. (2014). Childhood and adolescent
cancer statistics, 2014. CA: A Cancer Journal for Clinicians, 64, 83-103.
Wiangnon. S., Veerakul, G., Nuchprayoon, I., Seksarn, P., Hongeng, S., & Kruvecho, T. (2011). Childhood cancer incidence and survival 2003-2005. Thailand: study from the Thai Pediatric Oncology Group. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 12, 2215-2220.
Wongcheeree, T., Chaimongkol, N., & Pongjaturawit, Y. (2011). Factors influencing parent participation in the care of hospitalized children. The Journal of Faculty of Nursing,
Burapha University, 19(3), 23-36. [In Thai]