ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดในหญิงตั้งครรภ์แรก

ผู้แต่ง

  • สุรวดี คัทสิงห์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • สุพิศ ศิริอรุณรัตน์

คำสำคัญ:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ความรู้เกี่ยวกับการคลอด, ทัศนคติเกี่ยวกับการคลอด, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดในหญิงตั้งครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ หญิงตั้งครรภ์แรก ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 120 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการคลอด แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการคลอด และแบบสอบถามความเชื่อมั่นในตนเองขณะคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า การศึกษา รายได้ของครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับการคลอด และทัศนคติเกี่ยวกับการคลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (r =.223, r = .228, r = .23, r = .256 ตามลำดับ) ส่วนอายุไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.007) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลในแผนกฝากครรภ์ควรมีการประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการรับรู้ดังกล่าวในหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนจัดทำโปรแกรม หรือพัฒนาแนวทางและสื่อการสอนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการคลอด และเสริมสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการคลอดด้วยตนเองแก่หญิงตั้งครรภ์ รวมถึงกระบวนการเตรียมตัวคลอด เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความมั่นใจ และมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการคลอดด้วยตนเองที่ดี

References

References

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change.
Psychological Review, 84(2), 191-215.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory.
New Jersey: Prentice-Hall.

Bandura, A. (2000). Cultivate self-efficacy for personal and organizational effectiveness.
Journal of Psychosomatic Obstetrics & Gynecology, 21(4), 219-224.

Beebe, K. R., Lee, K. A., Carrieri-Kohlman, V., & Humphreys, J. (2007). The effects of
Childbirth self-efficacy and anxiety duringpregnancy on prehospitalization labor.
Journal of Obstetric, Gynecologic & Neonatal Nursing, 36(5), 410-418.

Birgitta, S., Carina, B., & Siw, A. (2012). Self-efficacy in pregnant women with severe fear of
Childbirth [JOGNN]. Journal of Obstetric, Gynecologic, and Neonatal Nursing, 42,
191-202.

Blackwell, K. D., Oxford, U. K., Beebe, K. R., Lee, K. A., Carrieri-Kohlman, V., &
Humphreys, J. (2007). The effects of childbirth self-efficacy and anxiety during
pregnancy on prehospitalization labor [JOGNN]. Journal of Obstetric, Gynecologic,
and Neonatal Nursing, 36(5), 410-418.

Budin, W. (2007). Labor and childbirth, women’s health nursing: Comprehensive care across
the liftspan. New Jersey: Rocky Kill.

Brubaker, S. J., & Dillaway, H. E. (2009). Medicalization, natural childbirth and birthing
experiences. Sociology Compass, 3, 31-48.

Kleanthi, G. (2015). Childbirth efficacy: Validatingthechildbirthself-efficacy inventory in a
Greek sampleofpregnantwomen. Journal of Midwifery & Women’s Health, 31, 742-749

Kittisakchai, T. (2014). Fear of childbirth in pregnant women and related factors.
. Master of Nursing Thesis, Advanced Midwifery, Chiang Mai University. [In Thai]

Kowawisarat, A. (2017). Babnaidee book. Printing Department, TaTa Public Company Ltd:
Mind Health Publishing. [In Thai]

Macones, G. A. (2013). Prediction of cesarean delivery using the fetal-pelvic index.
American Journal of Obstetrics & Gynecology, 209(5), 431 8.

Maria, J. C., Maria, I. C., & Domingo, D. (2009). Childbirth Self-Efficacy Inventory:
psychometric testing of the Spanish version. Journal of Advanced Nursing, 65(12),
2710-2718.

Proyngean, J. (2016). Promoting self-efficacy in childbirth, self-efficacy, self-control during
childbirth. Master of Nursing Thesis, Advanced Midwifery, Burapha University.
[In Thai]

SrisuphanDit. K. (2016). The correctness of the diagnosis of an abnormal condition of the
baby's head And mother pelvic floor of pregnant women in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. Medical archives Medical Association of Thailand under the Royal Patronage, 97(10), 999-1003. [In Thai]

Wongrattana, C. (2010). Techniques for using statistics for research (2nd Edition). Nonthaburi:
Thai Creationism Kit Inter Progressive. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2019