ผลของการนวดสัมผัสทารกต่อพฤติกรรมตอบสนองความปวด อัตราการเต้นของหัวใจและค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารกแรกเกิด ที่ได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย

ผู้แต่ง

  • สุรีทร ส่งกลิ่น
  • นฤมล ธีระรังสิกุล

คำสำคัญ:

พฤติกรรมตอบสนองความปวด, ทารกแรกเกิด, นวดสัมผัสทารก, หลอดเลือดดำส่วนปลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการนวดสัมผัสทารกต่อพฤติกรรมตอบสนองความปวด อัตรา
การเต้นของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย
กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยทารกแรกเกิดที่คลอดเมื่ออายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์ และเข้ารับการดูแลในหอผู้ป่วยทารก
แรกเกิดโรงพยาบาลสระบุรี สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มควบคุมได้รับ
การห่อตัวตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการนวดสัมผัส ก่อนการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย 2 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการนวดสัมผัสทารกซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา แบบบันทึกข้อมูล
ทั่วไป แบบบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ แบบบันทึกค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน และแบบประเมินพฤติกรรม
การตอบสนองความปวดของทารกแรกเกิด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค = .90 วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติ t-test
ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการเจาะเลือดทันทีและนาทีที่ 1 ทารกกลุ่มที่ได้รับการนวดสัมผัสมีพฤติกรรม
ตอบสนองต่อความปวดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการห่อตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -13.201, p < .05 และ t = -3.154,
p < .05) ทารกกลุ่มที่ได้รับการนวดสัมผัสและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติมีอัตราการเต้นของหัวใจ และค่า
ความอิ่มตัวของออกซิเจนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การนวดสัมผัสทารก
ช่วยลดพฤติกรรมตอบสนองต่อความปวดได้ ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพควรนำการนวดสัมผัสไปใช้เพื่อลด
ความปวดของทารกที่ได้รับการเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลาย

References

Bellieni, C. V., Iantorno, L., Perrone, S., Rodriguez,
A., Longini, M., Capitani, S., & Buonocore,
G. (2009). Even routine painful procedures
can be harmful for the newborn. Pain, 147,
128-131.

Chick, Y. M., & Wan, I. P. (2011). The effect of limb
massage on infant’s venipuncture pain.
The Journal of Pain, 13(4), 89.

Cruz, M.D., Fernandes, A.M., & Oliveira (2016).
Epidemiology of painful procedures
performed in neonates: A systematic
review of observational studies, Eur J Pain.
20, 489-498.

Field. T, Diego, M, A, & Hernandez-Reif, M. (2007).
Massage therapy research. Development
Review, 27, 75-89.

Gardner, S.L, Hines, M.E., & Agarwal, A.R. (2016).
Pain and pain relief. In S.L., Gardner, B.S.,
Carter, M.E., Hines, J.A., Hernandez (Eds).
Merenstein & Gardner’s handbook of
neonatal intensive care (pp. 218-261)
(8th ed.). St. Louis: Elsevier.

Gradin, M., Finnström, O., & Schollin, J. (2004).
Feeding and oral glucose additive effects
on pain reduction in newborns. Early
Human Development, 77(1-2), 57-65.

Hall, R. W. & Anand, K. J. S. (2014). Pain
management in newborns. Clinics in
Perinatology, 41(4), 895-924. doi:10.1016/
j.clp.2014.08.010.

Hemkunakorn, P. (2000). Effect of touch on
behavioral pain responses, heart rates,
oxygen saturation and crying times related
to hepatitis B vaccine injection in neonates.
The Thai police medical journal, 26, 19-24.
[In Thai]
Inruan, S., Daramas, T., & Pookboonmee, R. (2013).
Effects of olfactory stimulation with breast
milk on pain response to heel stick in full
term infant. Rama Nurs J, 19(3), 320-332.
[In Thai].

Joung, K. H., & Cho, S. C. (2010). The effect of
sucrose on infants during a painful
procedure. Korean J Pediatr, 53(8), 790-794.

Kulkarni, A., Kaushik, J.S., Gupta, P., Sharma, H., &
Agrawal, R.K. (2010). Massage and touch
therapy in neonates: The current evidence.
Indian Pediatrics, 47, 771-776.

Lawrence, J., Alcock, D., McGrath, P., Kay, J.,
MacMurray, S. B., & Dulberg, C. (1993). The
development of a tool to assess neonatal
pain. Neonatal Network, 12, 59-66.

Melzack, R., & Wall, P. D. (1965). Pain Mechanisms:
A new theory. American Association for
the Advancement of Science, 150, 971-979.

Pinelli, J., Symington, A., & Ciliska, D. (2002).
Nonnutritive sucking in high-risk infants:
Benign intervention or legitimate therapy?
Journal of Obstetric, Gynecologic, and
Neonatal Nursing, 31, 582-591.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2004). Nursing
research principles and methods (7th ed.).
Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Schellack, N. (2011). A review of pain management
in the neonate. South African Pharmacy
Journal, 78(7), 10-13.

Sinpru, N., Tilokskulchai, F, Vichitsukon, K., &
Boonyarittipong, P. (2009). The effect of
clinical nursing practice guidelines for
swaddling on pain relief from heel stick in
neonates. J Nurs Sci, 27(1), 32-45. [In Thai].

Taksande, A. M., Vilhekar, K. Y., Jain, M., & Chitre,
D. (2005). Pain response of neonates to
venipuncture. Indian J Pediatr, 72(9), 751-3

Tantapong, E. (2000). The effects of swaddling on
pain response related to heel stick in
premature infants. Unpublished master’s
thesis, Mahidol University, Bangkok. [In Thai].

Thongprong, C., Chaimongkol, N., & Pongjaturawit,
Y. (2011). Effects of planned breastfeeding
on pain in neonates receiving venipuncture,
The Journal of Faculty of Nursing Burapha
University, 19(2), 42-53. [In Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2020