ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรม ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จีราวรรณ นามพันธ์
  • นฤมล เอื้อมณีกูล
  • สุรินธร กลัมพากร

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, ผู้ดูแลที่ผ่านการอบรม, การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในปี 2559 จำนวน 182 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนเมษายน 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามด้านทัศนคติต่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  และแบบสอบถามด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) แบบสอบถามปัจจัยสถานการณ์ ประกอบด้วย แบบสอบถามด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงานและแบบสอบถามปัจจัยด้านองค์การและสังคม 3) แบบสอบถามการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .73, .77, .88, .86 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.9, SD = 0.5) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ประสบการณ์ ทัศนคติ แรงจูงใจ วิธีการทำงาน เครื่องมือเครื่องใช้ สถานที่ในการทำงาน นโยบายของหน่วยงาน การฝึกอบรม ผลตอบแทน สัมพันธภาพในหน่วยงาน และสภาพแวดล้อมทางสังคม โดยพบว่า เครื่องมือเครื่องใช้ แรงจูงใจ ประสบการณ์ และผลตอบแทน เป็นตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 37ผลการศึกษาเสนอแนะว่า ผู้บริหารควรสนับสนุนด้านเครื่องมือ เครื่องใช้ สร้างแรงจูงใจ และผลตอบแทนที่เหมาะสม รวมถึงการพิจารณาระบบพี่เลี้ยงให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมาก่อนปฏิบัติงานร่วมกับผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์

References

Daniel, W. W. (2010). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. (10th ed.). Las Vegas: Edwards Brothers Malloy.

Department of Older Persons. (2016). Statistics of elderly in Thailand. Retrieved December 20,
2017, from: http://www.dop.go.th/th/know/1/51. [In Thai]

Health Promotion Division, Department of Health. (2014). Guideline for Bangkok village health
volunteer. Bangkok: Health Department. [In Thai]

Institute for Population and Social Research, Mahidol University and Foundation of Thai
Gerontology Research and Development institute. (2017). Situation of the Thai elderly. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. [In Thai]

Jukchai, P., Khuneepong, A., & Changkeaw, W. (2017). Factors affecting the performance of village health volunteers (VHVs) of family care teams, Pathum Thani province. Journal of Public Health Nursing, 31(1), 16-28 [In Thai]

Mccormick, J. E., & Ilgen, R. D. (1985). Industrial and organizational psychology (3rd ed.).
Newjercy: Prentice-Hall.Inc.

Kumsom, C., Lagampan, S., & Boonyamalik, P. (2019). Factors influencing caring practices for dependent older adults in the long term care system: Roi Et province. Thai Red Cross Nursing Journal, 12(2), 200-203. [In Thai]

Poosanasuwansri, D., Daothaisong, K., Chongmontri, K., & Keawpoung, S. (2018). Factors related to elderly caregiver volunteers performance, The Thai Red Cross Society (Research Report). Bangkok: First Aid and Health Care Training Center, The Thai Red Cross Society. [In Thai]

Potavech, E., Chansamart, R., Kosolgitiumpron, S., & Yupart, Y. (2008). Factors affecting the
performance on basic public health of the village public health volunteers in
Srichiangmai district, Nongkhai province. Rajabhat Maha Sarakham University Journal,
2(3), 269-273. [In Thai]

Ritcharoon, P. (2010). Measurement evaluation. Bangkok: House of kermyst. [In Thai]

Sawathol, C., Pengpint, T., Senanikorn, A., & Srisuraphol, W. (2017). Care for elderly dependents in the northeast area of Thailand. Journal of MCU Peace Studies, 5(1), 387- 405. [In Thai]

Srisatidnarakul, B. (2010). Methodology of nursing research. Bangkok: You and I inter media. [In Thai]

Suksabuy, P. (2017). Evaluation of long term care for dependent elders by family care teams
in Chai Buri district, Surat Thani province. Region 11 Medical Journal, 31(2), 266-267. [In Thai]

Srisawang, S., & Chaiprasert, N. (2019). Welfare and compensation of manufacturing employees
in Pathumthani province. VRU Research and Development Journal Science and
Technology, 14(2), 297-302. [In Thai]

Whangmahaporn, P. (2017). Role of care for the elderly at home volunteers: transforming from
government to public governance. Journal of Politics, Administration and Law, 8(2), 3. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2020