ความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วย โรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • วิไลภรณ์ สว่างมงคล
  • เขมารดี มาสิงบุญ
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ

คำสำคัญ:

ความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล, ความรู้เกี่ยวกับโรคสมองขาดเลือด, ความตระหนักของการเกิดโรคสมองขาดเลือด, การรับรู้ความรุนแรง, การจัดการอาการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล

ของญาติผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล โดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการอาการของดอดและคณะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ญาติผู้ป่วยที่นำผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันมารับการรักษา ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรี ช้ากว่า 210 นาที (3.5 ชั่วโมง) จำนวน 85 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและญาติ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความตระหนักในการเกิดโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และแบบสอบถามการจัดการอาการโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลาที่ญาติผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ตั้งแต่เริ่มเกิดอาการของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน เฉลี่ย 1,768 นาที (ประมาณ 29.5 ชั่วโมง) การจัดการอาการเมื่อญาติพบผู้ป่วยมีอาการของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน คือ 1) รอให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นหรือหายไปเองจึงไม่พาไปโรงพยาบาล (ร้อยละ 48.3) 2) พยายามให้ผู้ป่วยผ่อนคลายด้วยการนอนพัก (ร้อยละ 32.9) 3) หายามาให้ผู้ป่วยรับประทาน เช่น แอสไพลิน หรือ พาราเซตตามอล (ร้อยละ 9.4) 4) บอกใครบางคนที่อยู่ใกล้ (ร้อยละ 3.5) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคสมอง

ขาดเลือดอยู่ในระดับต่ำ (M = 17.5, SD = 3.20) ความตระหนักในการเกิดโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน

อยู่ในระดับต่ำ (M = 1.68, SD = 0.47) และการรับรู้ความรุนแรงของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันอยู่ในระดับต่ำ (M = 29.29, SD = 24.69) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรส่งเสริมให้ญาติผู้ป่วยมีความรู้ ความตระหนักและรับรู้ความรุนแรงของโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน และมีการจัดการอาการ

ที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยมารับการรักษาได้ทันเวลา

References

American Heart Association/ American Stroke Association [AHA/ ASA]. (2015). The Warning
Signs. Retrieved from http://www.strokeassociation.org/STROKEORG/WarningSings
/Stroke-Warning-Signs-and-Symptoms_UCM_308528_SubHomePage.jsp

American Heart Association/ American Stroke Association [AHA/ ASA]. (2018). guideline.
Retrieved from http://www.lpnh.go.th/newlp/wp-content/uploads/2013/10/ Ischemic-Stroke-AHA_ASA2018.pdf

American Heart Association. (2019). About stroke. Retrieved from https://www.stroke.
org/en/about-stroke

Ashraf, V. V., Maneesh, M., Praveenkumar, R., Saifudheen, K., & Girija, A. S. (2015).
Factorsdelaying hospital arrival of patients with acute stroke. Annals of Indian
Academy of Neurology, 18(2), 162-166.

Barr, J., McKinley, S., O’Brien, E., & Herkes, G. (2006). Patient recognition of and response to
symptoms of TIA or Stroke. Neuroepidemiology, 26, 168-175.

Chaiyo, S. (2014). Factors predicting the visiting time in patients with acute ischemic stroke.
Master of Nursing Science Thesis in Adult Nursing, Graduate School, Khon Kaen
University. [In Thai]

Chirawatkun, A. (2007). Statistics. Nonthaburi: Office to dismiss the Ministry of Public Health.
[In Thai]

Division of Non Communicable Disease Department of Disease Control. (2019). Non-
communicable disease information. Retrieved from http://www.thaincd.com
/2016/mission/documents-detail.php?id=13486&tid=32&gid=1-020 [In Thai]

Dodd, M., Janson, S., Facione, N., Faucett, J., Froelicher, E. S., Humphreys, J., Lee, K.,
Miaskowski, C., Puntillo, K., Rankin, S., & Taylor, D. (2001). Advancing the science
of symptom management. Journal of Advanced Nursing, 33(5), 668-676.

Emergency Unit A Hospital In Chonburi province. (2017). Patient statistics in 2018. Chon Buri:
A hospital In Chonburi province. [In Thai]

Jiang, B., Ru, X., Sun, H., Liu, H., Sun, D., Liu, Y., Huang, J., He, L., & Wang, W. (2016).
Pre-hospital delay and its associated factors in first-ever stroke registered in
communities from three cities in China. Scientific Reports, 6(29795), 1-10.

Kamsareeruk, J., & Jitpanya, Ch. (2015). Factors Related to Prehospital Time in Patients with
Acute Ischemic Stroke. Journal of The Police Nurse, 7(2), 106-119. [In Thai]

Khantichitr, Ph., Sanchaisuriya, P., & Thepphawan, P. (2016). Time-to-Treatment of Stroke
patients: Experience from Ubon Ratchathani Province, Master of Nursing Science
Thesis in Adult Nursing, Faculty of Nursing, Health Systems Research Institute.
[In Thai]

Pinyosree, N. (2008). Factors related to seeking treatment after the onset of acute ischemic
stroke patients. Master of Nursing Science Program in Nursing Science, Faculty of
Nursing, Chulalongkorn University. [In Thai]

Potisopha, W., Utriyaprasit, K., & Sindhu, S. (2015). Relationships among response to
symptoms mode of transportation and hospital arrival time of acute stroke
patients. Journal of Nursing Science & Health, 38(1), 9-20. [In Thai]

Rerkasem, K. (2009). Pathophysiology and management in carotid artery stenosis.
Chiang Mai: Chiang Mai University. [In Thai]

Saeko, U. (2009). A study of stroke awareness in stroke risk patients. Master of Nursing
Science Program in Nursing Science, Faculty of Nursing, Chulalongkorn University.
[In Thai]

Saengsuwan, J., Suangpho, P., & Tiamkao, S. (2017). Knowledge of stroke risk factors and
warning signs in patients with recurrent stroke or recurrent transient ischemic attack in Thailand. Neurology Research International, 2017(2017), 1-7.

Seremwe, F., Kaseke, F., Chikwanha, T. M., & Chikwasha, V. (2017). Factors associated with
hospital arrival time after the onset of stroke symptoms: A cross-sectional study at two teaching hospitals in Harare, Zimbabwe. Malawi Medical Journal, 29(2), 171-176.

Singhard, S. (2011). Factors associated with knowledge of stroke warning signs, Risk factors
and treatment among elderly patients with stroke. Master of Nursing Science
Thesis in Gerontological Nursing, Graduate School, Khon Kaen University. [In Thai]

Srisathitnarakun, B. (2010). The methodology in nursing research. Bankok: U&I Intermedia.
[In Thai]

Yiadthaisong, K., Wongpiriyayothar, A. & Kuleelung, P. (2019). Factors Predicting Prehospital
Time of Patients with Acute Ischemic Stroke in Acute Phase. Journal of Nursing and Health Care, 37(1), 148-156. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2020