ระบบและกลไกเพื่อรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล

ผู้แต่ง

  • นลินี เกิดประสงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • จันทิมา นวะมะวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

สังคมสูงวัย , ระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัย , ชุมชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของประชากรเกี่ยวกับระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่เป้าหมายเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายว่าด้วยระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล ใน 5 อำเภอ จังหวัดนครสวรรค์  มี 4 ขั้นตอน คือ 1) สร้างสัมพันธภาพ สำรวจชุมชน และคัดเลือกกลุ่มผู้นำพาการเปลี่ยนแปลง ระดับพื้นที่และระดับกลางเพื่อร่วมกันขับเคลื่อน 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นและความพึงพอใจที่คาดหวังของผู้สูงอายุและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับตำบล ขนาดกลุ่มตัวอย่างกระจายตามสัดส่วนแต่ละตำบล รวม 523 คน 3) พัฒนาร่างระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัยในระดับตำบล 4) ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติด้วยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องโดยการคืนข้อมูลและร่วมกันดำเนินการประชุมวางแผนร่วมกันและติดตามประเมินผล

          ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการของประชาชนจำแนกเป็น ๒ กลุ่มคือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มแกนนำชุมชนที่เกี่ยวข้องผู้สูงอายุใน ๔ มิติ ได้แก่ 1) มิติด้านสุขภาพให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค สำรวจและดูแลผู้สูงอายุผู้ยากลำบาก ควรมีระบบเยี่ยมเยียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เสนอให้มีการจัดบริการเชิงรุก พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยระยะยาวโดยเฉพาะการคมนาคมขนส่งเดินทางรับการรักษา 2) มิติเศรษฐกิจ จัดระบบการออมในชุมชน สวัสดิการชุมชนและฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ดียิ่งขึ้น สร้างอาชีพเสริมรายได้ผู้สูงอายุ ส่งเสริมภูมิปัญญา 3) มิติด้านสังคม สร้างความเข้มแข็งและความอบอุ่นภายในครอบครัว ค่านิยมช่วยเหลือเกื้อกูล เพื่อนช่วยเพื่อ สืบสานงานบุญสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันของภาครัฐท้องถิ่นและภาคประชาชน เคารพซึ่งกันและกันส่งเสริมและสืบสานภูมิปัญญา มาตรการรักษาความปลอดภัยในชุมชน และ 4) มิติด้านสภาพแวดล้อมเสนอให้มีการปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ สถานที่สาธารณะให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ สร้างให้เป็นชุมชนสีเขียวและสะอาด ส่วนระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัย ประกอบด้วย  1) ขับเคลื่อนให้เกิดระบบและกลไกรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล ระดับจังหวัด เช่น คณะทำงานพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ ระดับตำบล ระดับจังหวัด หนุนเสริมการทำงานและจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ และ 2) ระบบงานที่เหมาะสมรองรับสังคมสูงวัยรวม ๒๓ ระบบและกระบวนการบริหารจัดการ 6 องค์ประกอบ คือ 1) การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการของกลุ่ม 2) การวางระบบการทำงานที่สอดรับกับบริบทชุมชนสู่การปฏิบัติ 3) สร้างบรรยากาศการสื่อสารแบบเปิดเป็นประชาธิปไตย 4) พัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ ให้กับกลุ่มผู้ขับเคลื่อน 5) สร้างทีมทำงานในระดับกลุ่มปฏิบัติ และ 6) สร้างแรงจูงใจในการทำงาน

References

Nakhon Sawan Provincial Health Assembly Committee. (2015). Main document/ resolution of public policy development project for participatory health Nakhon Sawan province, Nakhon Sawan: Iprint Shop.

National Board of Elders Ministry of Social Development and Human Security. (2009). National plan for the elderly, vol. 2 (2002 - 2021), Revised edition, No. 1. Bangkok: The Agricultural Cooperative Association of Thailand Printing House. [In Thai]

National Reform Council. (2015). Reform agenda No. 30, system reform to support aging society, page 2. Bangkok: Secretariat of the House of Representatives. [In Thai].

Office of the National Health Commission. (2019). Annual report 2018. Nonthaburi: Office of the National Health Commission.

Puraya, A., Piyakong, D., Wongwiggan, S., & Boonpracom, R. (2021). Exploring the elderly care system: A view from community in Thailand. Jurnal Ners, 16(1), 1-7.

World Health Organization [WHO]. (2002). Active ageing: A policy framework. Geneva: WHO Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-03-2022