สมรรถนะสารสนเทศและดิจิทัลทางการพยาบาล ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในโรงพยาบาลตติยภูมิ
คำสำคัญ:
สมรรถนะ สารสนเทศทางการพยาบาล , ดิจิทัลทางการพยาบาล , ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น , เดลฟายเทคนิคบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการจัดการสารสนเทศและดิจิทัลทางการพยาบาลของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ในโรงพยาบาลตติยภูมิโดยประยุกต์ใช้เทคนิคเดลฟายในการเก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศและดิจิทัลทางการพยาบาลของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นจำนวน 17 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการบอกต่อของผู้เชี่ยวชาญเครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด 3 รอบประกอบด้วยแบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถามมาตราส่วนประมานค่า 5 ระดับเกี่ยวกับสมรรถนะสารสนเทศและดิจิทัลทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะสารสนเทศและดิจิทัลทางการพยาบาลของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในโรงพยาบาลตติยภูมิ ประกอบด้วย 3 ด้านหลักและมีสมรรถนะย่อย 46 ข้อ ดังนี้ 1) ด้านทักษะทางคอมพิวเตอร์ 18 ข้อ ที่แบ่งออกเป็น 2 ด้านย่อย คือ ทักษะการใช้งานโปรแกรมพื้นฐานที่เกี่ยวกับการบริหารทางการพยาบาล (7ข้อ) และทักษะการใช้งานโปรแกรมขั้นสูงและแอพพลิเคชันที่เกี่ยวกับการบริหารทางการพยาบาล (11ข้อ) 2) ด้านทักษะทางวิทยาการสารสนเทศ17ข้อที่แบ่งออกเป็น 2 ด้านย่อย คือ ความสามารถทางวิทยาการสารสนเทศ (6 ข้อ) และความรู้ทางวิทยาการสารสนเทศ (11 ข้อ) และ 3) ด้านทักษะการเป็นพยาบาลสารสนเทศ 11 ข้อจากผลการวิจัยนี้ได้ให้แนวทางการพัฒนา สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในโรงพยาบาลตติยภูมิมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับสมรรถนะสารสนเทศและดิจิทัลทางการพยาบาลเพิ่มขึ้นและได้มาตรฐาน นอกจากนี้ผลการวิจัยได้ให้แนวทางในการพัฒนาเครื่องมือเพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสมรรถนะสารสนเทศและดิจิทัลทางการพยาบาลของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น
References
Boontae, U., Siritarungsri, B., Banyati, P., & Luangamornlert, S. (2019). The competency development on health strategy planning in Thailand 4.0 for nurse leaders. Songklanakarin Journal of Nursing, 39(2), 113-226.
Eamsiriwong. O. (2008). Database systems. Bangkok: SE-Education.
Kassam, I., Nagle, L., & Strudwick, G. (2017). Informatics competencies for nurse leaders: Protocol for a scoping review. BMJ open, 7(12), e018855.
Nursing Division. (2013). Guidelines for management of nursing information systems in hospitals. Nonthaburi: Thepphenwanis.
Phromphaeng, S. (2020). Financial and fiscal system management at Khao Wong hospital. Kalasin province, financial system management Khao Wong hospital Kalasin province. Health Journal and Environmental Studies, 5(2), 22-27.
Poolpatarachewin, C. (2009). Conduct future research with EDFR. Khon Kaen: Faculty of Education Khon Kaen University
Singhanet, S., Jaisit, J., & Henkaew, W. (2017). Nursing leadership in the 21st century. Naresuan Phayao Journal, 10(1), 17-22.
Skytt, B., Ljunggren, B., Sjoden, P. O., & Carlsson, M. (2008). The roles of the first-line nurse manager: Perceptions from four perspectives. Journal of Nursing Management, 16(8), 1012-1020.
Srisathitnarakun, B. (2008). Leadership and management strategies of nursing organizations. in the 21st century. Bangkok: Printing House of Chulalongkorn University.
Staggers, N., Gassert, C. A., & Curran, C. A. (2002). Delphi study to determine informatics competencies for nurses at four levels of practice. Nursing Research, 51(6), 383-390.
United States Department of Health and Human Service [DHHS]. (2011). Inventory of programs, activities and initiatives focused on improving the health of individuals with multiple chronic conditions (MCC). Retrieved from https://www.hhs.gov/sites/default/files/ash/initiatives/mcc/mcc-inventory-20111018.pdf
Wongsalarp, S. (2014). Factors influencing change management of head nurses in secondary hospitals. in Kanchanaburi province. Master's Thesis, Nursing, Christian University, Nakhon Pathom.
Wongvanich, S. (2005). Practical research in class. Bangkok: Chulalongkorn Publishing House University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.