ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม ในสถาบันราชประชาสมาสัย

ผู้แต่ง

  • ษรฉัตร ลภัทธานันท์ หัวหน้าหน่วยงานห้องผ่าตัด สถาบันราชประชาสมาสัย
  • ศิริรัตน์ ภูโอบ หัวหน้าหน่วยงานจักษุ สถาบันราชประชาสมาสัย
  • พ.จ.อ.อำนาจ โกสิงห์ หัวหน้าหน่วยงานวิกฤติ สถาบันราชประชาสมาสัย

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ต้อกระจก, การสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพ  การสนับสนุนทางสังคม ระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมในสถาบันราชประชาสมาสัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคต้อกระจกหลังผ่าตัดที่มาติดตามการรักษาหลังการผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียม 7 วัน จำนวน 260 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ แบบวัดระดับการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และระดับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระหว่างเดือน สิงหาคม 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 60.4 อายุเฉลี่ย 62 ปี ระดับการรับรู้ด้านความเชื่อด้านสุขภาพระดับมาก ระดับการสนับสนุนทางสังคมระดับมาก และระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมในระดับมาก (x ̅ = 4.17  S.D. =0.41 , x ̅ = 3.74  S.D. = 0.56 และ x ̅ =4.31 S.D. = 0.57ตามลำดับ)  และพบว่าความเชื่อด้านสุขภาพด้านความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม การได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว การได้รับการสนับสนุนจากพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก และการได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ (ßeta = .409, p<0.01, ßeta = .409, p<0.01, ßeta = .432, p<0.01, ßeta = -.339, p<0.01, ßeta = .168, p<0.01 ตามลำดับ)  สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลตนัเองของผู้ป่่วยได้ร้อยละ 38.7 (R2 = .387)

     จากผลการศึกษาดังกล่าว มีข้อเสนอแนะว่า ควรนำปัจจัยความเชื่อด้านสุขภาพ ที่ทำให้เกิดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมที่ถูกต้องเหมาะสม

References

Aekapod, D., & Sutjarak, P. (2018). Factors associated with complications prevention behaviors of post operative for Phacoemulsification with Intraocular lens prothesis in Maharaj Nakhonsithammarat hospital. Region 11 Medical Journal, 32(1), 919-926. [In Thai]

Becker, M. H. (1977). The health belief model and prediction of diary compliance. A field experiment. Journal of Health and Social Behavior, 3(1), 15.

Gottlieb, B. H. (1985). Social network and social support: An over view of research, practice and policy implication. Health Education Quarterly, 12(1), 5-22.

Hashemi, H., Pakzad, R., Yekta, A., Aghamirsalim, M., Pakbin, M., Ramin, S., & Khabazkhoob, M. (2020). Global and regional prevalence of age-related cataract: a comprehensive systematic review and meta-analysis. Eye, 34(8), 1357-1370. doi: 10.1038/s41433- 020-0806-3.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

eawkok, J., Madada, S., & Khemmaluan, K. (2015). Knowledge of family competency in caring for the elderly after cataract surgery. Hatyai Academic Journal, 13(1), 35-45. [In Thai]

National Health Security Office Ministry of Public Health. (2022). Information on cataract patients and situation in 2018 – 2021. Nonthaburi: National Health Security Office.

Polit, D. F., Beck, C.T., & Owen, S. V. (2007). Is the CVI an acceptable indicator of content validity appraisal and recommendations. Research in Nursing & Health. 30, 459-467.

Pangputtipong, P., Isipradit, S., Thonginate, O., Yingyong, P., Chaisrisawatsuk, N., Wongsawat, W., Somboonthanakij, S., Sumsawat, P., Mantachot, K., Sankawiset, P., Aryangkun, E., Rojruangnit, K., & Arame, P., (2014). Eye diseases (Eye Diseases). Retrieved from https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/report8_13.pdf [In Thai]

Simanurak, A. (2014). Factors affecting self-care behavior after surgical lens implantation of the elderly, Ubon Ratchathani province. Master's Thesis, Public Health, Ubon Ratchathani Rajabhat University. [In Thai]

Srisaard, B. (2017). Preliminary research (10th ed.). Bangkok: Suweeriyasan Printing. [In Thai]

Srisatidnarakul, B. (2012). Development and validation of research instruments: Psychometric properties. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. [In Thai]

Tiansawat, S. (2019). Tool development for nursing research. Chiang Mai: Siam Print Nana. [In Thai]

Yotkhamlue, N. (2023). Factors affecting postoperative self-care behaviors of cataract patients undergoing cataract surgery with intraocular lens implantation in Sutthavej hospital. Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 40(1), 87-95. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2023