ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยแอปพลิเคชันไลน์ ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำ ในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

ผู้แต่ง

  • เมธาวี พรตเจริญ นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุพิศ ศิริอรุณรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พิริยา ศุภศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำ, โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ, แอปพลิเคชันไลน์

บทคัดย่อ

     การเสริมสร้างพลังอำนาจ ช่วยให้บุคคลเกิดความเชื่อมั่นและตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงศ์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ ด้วยแอปพลิเคชันไลน์ ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำ ในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด  กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีแผนการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ภายหลังได้รับการรักษา เพื่อยับยั้งภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลเป็นครั้งแรก จำนวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มควบคุม 25 คน และกลุ่มทดลอง 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในปัจจุบัน แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ และแบบบันทึกการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Independent t-test สถิติ และสถิติ Chi-square

     ผลวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t35.92 = 14.40, p < .001) และมีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (X=2.92, =.09) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ พยาบาลและผดุงครรภ์ควรเสริมสร้างพลังอำนาจแก่สตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำดีขึ้นและอาจจะลดอัตราการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำได้

References

Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Dashe, S. J., Hoffman, B. L., Casey, B. M., & Spong, C. Y. (2018). Williams obstetrics (25th ed.). New York: McGraw-Hill Education.

Lilliecreutz, C., Loren, J., Sydsjo, G., & Josefsson, A. (2016). Effect of maternal stress during pregnancy on the risk for preterm birth. BMC Pregnancy and Childbirth, 16(5), 1–8.

Gete, D. G., Waller, M., & Mishra, G. D. (2020). Prepregnancy dietary patterns and risk of preterm birth and low birth weight: findings from the Australian longitudinal study on women’s health. The American Journal of Clinical Nutrition, 111(5), 1048-1058.

Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically Ill children. Journal of Advanced Nursing, 21, 1201-1210.

Gyetvai, K., Hannah, M., Hodnett, E., & Ohlsson, A. (1999). Tocolytics for preterm labor: A systemic review. Obstetrics & Gynecology, 94, 869-877.

Kelly, K., Marie, S., & John, D. (2013). Environmental contaminant exposures and preterm birth: A comprehensive review. Journal of Toxicology and Environmental Health, 16(2), 69-113.

Kolatat, T. (2016). The effect of prematurity: Thai maternal and child health .http:// www.tmchnetwork.com /node/164. [in Thai]

Konggern, P., Wongasa, W., & Sombatsirinan, K. (2016). The effect of an empowerment program on pregnant women at risk of giving birth. before maturity and husband to health promotion behaviors number of miscarriages and low birth weight infants. Thai Journal of Nursing Council, 31, 67-82. [in Thai]

Koranantakul, A. (2019). Academic article: Predicting preterm birth: Prevent and maintain. The Royal Thai College of Obstetricians and Gynaecologists, 28,8-15. [in Thai]

Maloni, J. A. (2011). Lack of evidence for prescription of antepartum bed rest. Expert Review of Obstetrics & Gynecology, 6(4), 385-393.

Nathalie, G., & Antoine, P. (2011). From powerlessness to empowerment: Mothers expect more than information from the prenatal consultation for preterm labour. Paediatrics & Child Health, 16(10), 638–642

Nuiman, T. (2011). Effect of empowerment program on behaviors for prevention of preterm labour among Muslim teenage pregnant women. Thai Journal of Nursing, 60(2),22-30. [in Thai]

Okun, M. L., Schetter, C. D., & Glynn, L. M. (2011). Poor sleep quality is associated with preterm birth. Sleep ,34(11):1493-1498

Palmer, K. T., Bonzini, M., Harris, E. C., Linaker, C., & Bonde, J. P. (2013). Work activities and risk of prematurity, low birth weight and pre-eclampsia: An updated review with metaanalysis. Occupational Medicine Journal, 70(4), 213-22.

Stylianou-Riga, P., Kouis, P., Kinni, P., Rigas, A., Papadouri, T., Yiallouros, P. K., & Theodorou, M. (2018). Maternal socioeconomic factors and the risk of premature birth and low birth weight in Cyprus: A case-control study. Reproductive Health, 15(1), 157. doi: 10.1186/s12978- 018-0603-7

Thato, R. (2018). Nursing research: Concepts to application (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

World Health Organization [WHO]. (2019). World prematurity day 2012 . http://www.who.int/pmnch/media/news/2012/20121117_world_.html.2019

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2023