บทบาทของผู้นำศาสนาอิสลามในการคัดกรองและ เฝ้าระวังโรคโควิด 19 : กรณีศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • คอลิด ครุนันท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา
  • วิไล อุดมพิทยาสรรพ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ปรียนุช ชัยกองเกียรติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อัจฉรา มุสิกวัณณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ผุสนีย์ แก้วมณีย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • เขมพัทธ์ ขจรกิตติยา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นุศรา ดาวโรจน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อนุชิต คลังมั่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ผู้นำศาสนาอิสลาม, การคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ในชุมชน , 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา บทบาทของผู้นำศาสนาในระบบบริการปฐมภูมิในการเฝ้าระวังโรคโควิด 19 เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำศาสนาอิสลามในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 58 ราย และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 30 ราย ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ผู้นำศาสนา มีความรู้ความเข้าใจในมาตรการเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ในทุกด้าน (M= 2.75, SD=.48) และบทบาทในการเฝ้าระวังโรควิด 19 ในภาพรวม (M= 2.96, SD=.50) และผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้นำศาสนาอิสลาม มีบทบาทได้แก่ 1) เป็นผู้ชี้นำชุมชนในด้านการศึกษา วิชาการ ศาสดานะห์นบีมูฮัมหมัดฯ หลักปฏิบัติตามศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลาม 2) เป็นศูนย์กลางในการให้การรับรองแนวทางปฏิบัติตัวทางด้านสุขภาพ และการเผยแพร่ความรู้ และ 3) จัดการศพผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19

     จากผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า บริบทพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้มีการจัดระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม หลักศาสนาและหน่วยงานที่รับผิดชอบควรกำหนดนโยบายให้มีการจัดอบรมผู้นำศาสนาและผู้ปฏิบัติงานเพื่อเป็นศูนย์กลาง ในการดูแลกรณีการป้องกันการแพร่กระจ่ายเชื้อ ที่สอดคล้องตามหลักศาสนาอิสลาม และวิถีการดำเนินชีวิตในบริบทของพื้นที่

References

Department of Disease Control. (2020). Guidelines for public health officers in emergency response to the Coronavirus Disease 2019 outbreak in Thailand. Retrieved from http: //www.ddc.moph.go.th

Karina, A., & Naksewee, S. (2008). Religious commitment of muslims in three southern border provinces of Thailand. Pattani: College of Islamic Studies, Prince of Songkla University, Pattani Campus.

Laeheem, K., Baka, D., Tahe, H., & Walee S. (2011). The roles of muslim leaders for adolescents supervision on islamic way to maintaining peace in the southern border provinces of Thailand. Songkla: Faculty of Liberal Arts Prince of Songkla University.

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. Newbury Park, CA: Sage Publications.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). An expanded sourcebook: Qualitative data analysis (2nd ed.). California: Sage.

Ministry of Public Health. (2020). Department of Disease Control weekly disease forecast. Retrieved from https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=province

Ministry of Public Health. (2021). Department of Disease Control weekly disease forecast. Retrieved from https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=province

Sheikhul Islam Office. (2020). Measures to prevent the spread of the corona virus infection 2019 (COVID-19). Retrieved from https://skthai.org/th/news/89830

The Central Islamic Council of Thailand. (2023). Mosque. Retrieved from https://www.cicot.or.th/th/mosque/lists

Uthaipan, P. (1983). Deposited in Pattani. Pattani: Southern Education Center Prince of Songkhla University Pattani Campus.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-09-2023