การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเชิงนิเวศวิทยาสังคมต่อการควบคุม ภาวะโภชนาการเกินของเจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การส่งเสริมสุขภาพ, นิเวศวิทยาสังคม, ภาวะโภชนาการเกินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเชิงนิเวศวิทยาสังคมต่อการควบคุมภาวโภชนาการเกิน และประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเชิงนิเวศวิทยาสังคมต่อการควบคุมภาวะโภชนาการเกินของเจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม มีเจ้าหน้าที่ที่มีภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 61 คน และ 2) การวิจัยและพัฒนา โดยพัฒนาโปรแกรมทดลอง มีผู้เข้าร่วมโปรแกรมทดลอง จำนวน 20 คน โดยใช้สถิติ สถิติพรรณนา paired sample t-test และสถิติหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีสเปียร์แมน
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านเพศ การนับถือศาสนา ระดับความตระหนัก และระดับพฤติกรรมวิถีการดำรงชีวิตมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการพัฒนาโปรแกรมทดลอง แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบโปรแกรม รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล รูปแบบกิจกรรม วางแผนกิจกรรม สมุดบันทึกสุขภาพและองค์ความรู้ ระยะที่ 2 นำรูปแบบที่ได้ไปใช้ในการทดลอง เตรียมการทดลอง ดำเนินการ และติดตามผล และระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบ มีผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายหลังการทดลอง (=25.82, SD =3.59) มีผลลัพธ์ที่ดีกว่าก่อนการทดลอง (=26.32, SD =3.46) และผู้เข้าร่วมโปรแกรมทดลองมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ร้อยละ 50.0 ผลทดสอบหลังการใช้โปรแกรมทดลองมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายดีกว่าก่อนใช้โปรแกรมทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และผลการประเมินประสิทธิผลรูปแบบอยู่ในระดับมาก (=4.36, SD=0.14)
ข้อเสนอแนะการวิจัย ควรมีการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย จัดทำแผนงาน ติดตามประเมินผล ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม เสริมสร้างพลังใจและกระตุ้นให้เกิดผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การสื่อสารและเทคโนโลยี รวมทั้งนำโปรแกรมไปใช้ในองค์กร ชุมชนหรือคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) เป็นต้น ให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
References
Blanched, C. M. (2005). Social ecological correlates of physical activity in normal weigh overweight and obese individuals. International Journal Obesity, 50(1), 720-726.
Burean of Nutrition. (2021). The situation of nutritional status in the working age group. Nonthaburi: Ministry of Public Health. [In Thai]
Homsuwan, P. (2009). The effect of behavior changes program upon lipid level of patients with diabetics type 2, lower southern region. Master’s Thesis, Nursing Science, Faculty of Nursing, Chulalongkorn University. [In Thai]
Homsuwan, R., & Kanoktate, T. (2018). The ecological model: The control and prevention of hand foot mouth disease in children by multiple factors Influencing. Journal of Nursing and Health Sciences, 12(3), 18-21. [In Thai]
McLeroy, K., Bibcau, D., Steckler, A., & Glanz, K. (1988). An ecological perspective on health promotion programs. Health Education Quarterly, 15(4), 351-77.
Meknuntapaisit, W. (2019). The management for over nutrition of village health volunteer in Pissanulok province. Doctoral Dissertation, Philosophy, Regional Development Strategies, Rajabhat Maha Sarakham University. [In Thai]
Phosuya, K., & Tina, S. (2020). The evaluate effectiveness of nutrition problem solving among students in Ban Chomphu school, Ai Nalai sub district, Wiang Sa District, Nan Province. Nan: Provincial Public Health Office. [In Thai]
Prasitrattasin, S. (2012). Research methodology in social sciences. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]
Punset, K., Klinthuesin, S., Kingkaew, A., & Wongmaneeroj, W. (2015). Cardiovascular risk among staffs working at the central of ministry of public health using risk assessment of Rama - EGAT heart score. The Ministry of Public Health clinic, Rajavithi hospital, Department of Medical Services, 25(2), 65-71. [In Thai]
Regional Health Promotion Center 11 Nakhon Si Thammarat. (2021). Information and health situation of officer. Nakhon Si Thammarat: Working Age Development Cluster. [In Thai]
Sih, M. (2017). The effect of social ecological model and stage - based work place health promotion program on blood lipid control behaviors and total cholesterol in employees of the electricity generating authority of Thailand. Master’s Thesis,
Nursing Science, Community Nurse Practitioner, Prince of Songkla University. [In Thai]
Steward, H. J. (1972). Theory of culture change: The methodology of multilinear evolution. Urbana and Chicago: University of Illinois Press, 63(1), 117-119.
Yaemlamai, N., & Hongwiset, S. (2018). Evaluation of a health promotion program for the elderly, Takhiantia sub-district municipality, Bang-lamung district, Chonburi province. Nakhon Phanom University Journal, 8(3), 17-25. [In Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.