ผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถของผู้สูงอายุที่ได้รับยาวาร์ฟารินต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และภาวะเลือดออกผิดปกติ

ผู้แต่ง

  • รัชนี ผิวผ่อง
  • สุปรีดา มั่นคง
  • อภิญญา ศิริพิทยคุณกิจ
  • สุกิจ แย้มวงษ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนาความสามารถ/ ผู้สูงอายุที่ได้รับยาวาร์ฟาริน/ พฤติกรรมการดูแลตนเอง/ภาวะเลือดออกผิดปกติ, Capabilities development program, older persons receiving warfarin, self-care behavior, bleeding disorder

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถในการใช้ยาวาร์ฟาริน ต่อความรู้ พฤติกรรมการใช้ยาวาร์ฟาริน และภาวะเลือดออกผิดปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่มารับการตรวจที่คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เลือกตัวอย่างตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาความสามารถในการใช้ยาวาร์ฟารินร่วมกับการดูแลแบบปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ในการใช้ยาวาร์ฟาริน แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาวาร์ฟาริน และแบบสอบถามภาวะเลือดออกผิดปกติจากการใช้ยาวาร์ฟาริน

     ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลเองในการใช้ยาวาร์ฟารินหลังเข้าโปรแกรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลเองในการใช้ยาวาร์ฟารินหลังเข้าโปรแกรมมากกว่าผู้สูงอายุกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) แต่ภาวะเลือดออกผิดปกติระหว่างกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมพัฒนาความสามารถของผู้สูงอายุที่ได้รับยาวาร์ฟารินช่วยพัฒนาความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ได้รับยาวาร์ฟารินได้ จึงควรนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับยาวาร์ฟารินต่อไป

     

     This study aimed to investigate the effect of a capabilities development program in older persons receiving warfarin on knowledge, self-care behaviour, and bleeding disorders. The sample group of 60 older persons who took warfarin and attended the special outpatient cardiology division at Ramathibodi Hospital, Mahidol University, was selected by purposive sampling. Of these, 30 were assigned to the experimental group, and the other 30 were assigned to the control group. The former received a capabilities development program together with routine care, whereas the latter received only routine care. The instruments used included a self-care knowledge about warfarin questionnaire; a self-care behaviour about warfarin questionnaire; and a bleeding disorders questionnaire.

     The findings showed that, after participating in the capabilities development program the experimental subjects’ mean score of knowledge and self-care behavior related to taking warfarin were higher than before participating the program with statistical significance at the .001 level. In addition, after participating in the capabilities development program the experimental subjects’ mean score of knowledge and self-care behavior related to taking warfarin were higher than those of the control subjects with statistical significance at the .001 level. However, bleeding disorders between the two groups were not statistically significant. The findings led to a conclusion that the capabilities development program could be used to promote knowledge and self-care behaviour of older persons receiving warfarin, so healthcare professionals should implement the program to offer medical and nursing care to older persons receiving warfarin.

Downloads