ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศและคุณภาพอากาศในอาคารของโรงพยาบาล : กรณีศึกษา โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พรชรัฐ สายยุทธ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กัลยา หาญพิชาญชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จินดาวัลย์ วิบูลย์อุทัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

เชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ, คุณภาพอากาศในอาคาร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณจุลินทรีย์และคุณภาพอากาศในอาคารและศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างปริมาณเชื้อจุลินทรีย์กับคุณภาพอากาศในอาคาร ศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional
Analytical study) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หอผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วยใน ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน คลินิกวัณโรค และห้อง
ทำงาน ด้วยเครื่องมือ Single Stage Impactorและ Indoor Air Quality Monitor วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง
พรรณนาและวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิความสัมพันธ์เพียร์สันผลการศึกษาพบว่า ปริมาณแบคทีเรียสูงที่สุด คือ ห้อง
อุบัติเหตุฉุกเฉิน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 614.69 CFU/m3 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามกระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศ
สิงคโปร์ (ไม่เกิน 500 CFU/m3) ช่วงเวลาเช้ามีปริมาณแบคทีเรียสูงกว่าช่วงบ่าย วันจันทร์พบปริมาณแบคทีเรีย
มากกว่าวันพุธและวันศุกร์ ตำแหน่งที่พบปริมาณแบคทีเรียสูงสุดคือ ตำแหน่งช่องทางอากาศ ส่วนปริมาณเชื้อรา
พบสูงสุดคือ หอผูป้ ว่ ยนอก มีคา่ เฉลี่ยเทา่ กับ 650.06 CFU/m3 ซึ่งไมผ่ า่ นเกณฑม์ าตรฐาน ชว่ งเวลาเชา้ มีปริมาณ
เชื้อราสูงกว่าช่วงบ่าย วันพุธพบปริมาณเชื้อรามากกว่าวันจันทร์และวันศุกร์ ตำแหน่งที่พบปริมาณแบคทีเรียสูงสุด
คือ ตำแหน่งช่องทางอากาศ ส่วนคุณภาพอากาศในอาคาร ปริมาณแบคทีเรียมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิแบบ
แปรผกผันในระดับตํ่า (r = -0.291, p-value <0.05) ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มีความสัมพันธ์แบบแปร
ตามกันกับปริมาณแบคทีเรียในระดับปานกลาง (r = 0.353, p-value <0.05) ปริมาณเชื้อรามีความสัมพันธ์กับ
ความชื้นสัมพัทธ์แบบแปรตามกันในระดับปานกลาง (r = 0.465, p-value <0.05) ส่วนคุณภาพอากาศในพารา
มิเตอร์อื่นๆ ได้แก่ อุณหภูมิ ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ มีความสัมพันธ์กับปริมาณเชื้อราแบบแปรผกผัน
กันในระดับตํ่า (r = -0.234, -0.195, และ -0.107, p-value <0.05 ตามลำดับ)ปริมาณจุลินทรีย์มีปริมาณเกิน
มาตรฐานในหลายจุด ควรมีปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน คุณภาพอากาศในอาคารโดยมีการกำกับ
ดูแลเรื่องความสะอาดภายในอาคาร ระบบระบายอากาศ เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อโรคในโรงพยาบาลต่อไป

References

1. กฤษณียา ศังขจันทรานนท์. ชนิดและปริมาณของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ก่อโรคในโรงพยาบาล
และการเปรียบเทียบการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ในอากาศ [วิทยานิพนธ์ปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2548.
2. นงลักษณ์ สุวรรณพินิจและปรีชา สุวรรณพินิจ. จุลชีววิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2557 : 145-149.
3. กรมควบคุมโรค. แผนงานควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ปี 2560-2564. [ออนไลน์].2560. [เข้าถึงเมื่อ 27
พฤศจิกายน 2560].เข้าถึงได้จาก/http://122.155.1.141/site2/download-src.
php?did=30592.
4. กระทรวงสาธารณสุข. ระบบรายงาน Health Data Center : HDC. [ออนไลน์].2560 [เข้าถึงเมื่อ 16ตุลาคม 2560].
เข้าถึงได้จาก/https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.
5. Becton Dickinson and Company. BBL™ Sabouraud Dextrose Agar. [ออนไลน์]. 2015.
[เข้าถึงเมื่อ 16ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก/http://legacy.bd.com/ds/technicalCenter/inserts/
L007492(12).pdf
6. บัญญัติ สุขศรีงาม. จุลชีววิทยาทั่วไป. ใน:บัญญติ สุขศรีงาม, บรรณาธิการ. จุลชีวทยาทั่วไป พิมพ์ครั้ง4.
กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. 2534.
7. โสภณ คงสำราญ.แบคทีเรียทางการแพทย์, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2524.
8. จักรพงษ์ นิมานะ และคณะ. การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในอากาศห้องปฏิบัติการ คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยพายัพ. วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557 ; 42 : 341-349.
9. สุวัฒน์ ดำนิล. การสำรวจระดับความเข้มข้นและการจำแนกชนิดของแบคทีเรียและเชื้อราในอากาศ
ภายในอาคารของ โรงพยาบาลศิริราช[วิทยานิพนธ์/ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:
มหาวิยาลัยมหิดล; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-30