Research and Development of a Model of Media Literacy in Advertising of Fast Food and Junk Food Business among School Children in Khao Chaison District, Phattalung Province
Keywords:
advertising media literacy, fast food and junk food business, backward design, problem-based learningAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาของธุรกิจจำหน่ายอาหารฟาสต์ฟู้ดและอาหารขยะในเด็กวัยเรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ 2) การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับ และพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานแบบเน้นกิจกรรม 3) การตรวจสอบความเหมาะสม 4) การศึกษานำร่อง 5) การพัฒนาและปรับปรุง 6) นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างภาคสนาม และ 7) การประเมินผลรูปแบบ ใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบวัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนช่วงชั้น 1 ภาคการเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2560 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ใช้การสุ่มแบบง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 โรงเรียน จำนวนตัวอย่าง 115 ราย และกลุ่มควบคุม 4 โรงเรียน จำนวนตัวอย่าง 114 ราย ใช้เวลาในการทดลอง 2 ครั้งๆ ละ
3 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาของธุรกิจจำหน่ายอาหารฟาสต์ฟู้ดและอาหารขยะในเด็กวัยเรียน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง มี 5 ขั้นตอนสำคัญ คือ การเตรียมผู้เรียน การเผชิญปัญหา การสรุปและ
นำเสนอข้อค้นพบ การสะท้อนผลการเรียนรู้ และการประเมินผล 2) ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนรวมเฉลี่ยการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา และคะแนนเฉลี่ยรายด้าน ประกอบด้วยด้านการรับรู้ ด้านการวิเคราะห์ และด้านการประเมินสื่อโฆษณาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
References
Marketing Oops. สรุปรวมตลอดปี 2560 แบรนด์ไหนใช้งบโฆษณาเยอะที่สุด มาดูกัน [อินเทอร์เน็ต].2018. [เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค.2561].เข้าถึงได้จาก https://www.market-ingoops.com/news/brand-move/nielsen-ads-spending-overall-2017
สุปรียา ตันสกุล, บรรณาธิการ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคของเด็กวัยเรียนเขตเมือง.การประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่18 เรื่อง การพัฒนาสุขภาพยุค 4.0; 18-20
พฤษภาคม 2560; ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีชโฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท พัทยา. ปทุมธานี:ซิตี้พริ้นท์; 2560.
Shih SF, Liu CH, Liao LL, Osborne RH. Health literacy and the determinants of obesity: a population-based survey of sixth grade school children in Taiwan. BMC Public Health; 2016;16:280-8.
Eltayeb R, Salmiah MS, Suriani I. Association of health literacy with obesity and over- weight among arabic secondary school student in Kualalumpur and Putrajaya,
Malaysia. IJPHCS; 2016;3:110-21.
วิจารณ์ พานิช. การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล; 2556.
Nutbeam D. Health literacy as a popu- lation strategy for health promotion. JJHEP; 2017; 25:210-22.
World Health Oganization. Population- based approaches to childhood obesity prevention. Geneva: WHO; 2012.
ปกรณ์ ประจัญบาน และอนุชา กอนพ่วง. การวิจัยและพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2558;18:144-54.
วชิระ เพ็งจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ.นนทบุรี: กรมอนามัย; 2560.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564).กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2559.
นิธิดา วิวัฒน์พาณิชย์. การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์;2558;9:209-19.
Salvy SJ, de la Haye K, Bowker JC,Hermans RC. Influence of peers and friends on children’s and adolescents’ eating and activity behaviors. Physiol Behav; 2012;106:369-78.
Liao LL, Lai IJ, Chang LC, Lee CK. Effects of a food advertising literacy intervention on Taiwanese children’s food purchasing behaviors. Health Educ Res; 2016;31:509-20.
Geraee N, Kaveh MH, Shojaeizadeh D,Tabatabaee HR. Impact of media literacy education on knowledge and behavioral intention of adolescents in dealing
with media messages according to Stages of Change. J Adv Med Educ Prof; 2015;3:9-14.
Faul F1, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A.G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res
Methods; 2007;39:175-91