โปรแกรมการฟื้นฟูหลังผ่าตัดส่องกล้องซ่อมเอ็นไหล่ฉีกขาด

Authors

  • สรวิศ เจนวณิชสถาพร โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

Abstract

โรคเอ็นไหล่ฉีกขาด(Rotator cuff tear) เป็นสาเหตุของอาการปวดไหล่ที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีการรักษาทั้งแบบประคับประคองและการผ่าตัด  การรักษาแบบประคับประคองรวมถึง การใช้ยา การฉีดยา การทำกายภาพบำบัด และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งาน หากอาการไม่ดีขึ้นหลังได้รับการรักษาแบบประคับประคอง แพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญอาจแนะนำ การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเย็บซ่อมแซมเอ็นไหล่โดยที่แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 0.5 – 1 เซนติเมตร การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อรอบข้อมีน้อยมาก เสียเลือดน้อย ลดโอกาสติดเชื้อหลังผ่าตัด ทั้งยังลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ที่สำคัญเริ่มทำกายภาพได้เร็ว ทำให้การฟื้นตัวขยับเคลื่อนไหวของข้อทำได้ดีและใช้เวลาน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดในอดีตที่ต้องเปิดแผลกว้าง ทำให้แผลบวมและเป็นแนวยาว จึงหายช้าและใช้ระยะเวลานานหลายวันกว่าจะเคลื่อนไหวได้

References

Houck DA, Kraeutler M, Schuette H, McCarty EC, Bravman JT. Early Versus Delayed Motion After Rotator Cuff Repair - A Systematic Review of Overlapping Meta-analyses. Am J Sports Med, 2017;45(12):2911-5.

Bakti N, Antonios T, Phadke A, Singh B. Early versus delayed mobilization following rotator cuff repair. J Clin Orthop and Trauma, 2019;10:257-60.

Thigpen CA. The American Society of Shoulder and Elbow Therapists’ consensus statement on rehabilitation following arthroscopic rotator cuff repair. J Shoulder and Elbow Surg, 2016;4:521-35.

Nikolaidou OMS. Rehabilitation after Rotator Cuff Repair. Open Orthop J, 2017;11:154‐62.

Van der Meijden OA WP. Rehabilitation after arthroscopic rotator cuff repair: current concepts review and evidence-based guidelines. Int J Sports Phys Ther, 2012;7(2):197‐218.

Downloads

Published

2023-09-29

How to Cite

เจนวณิชสถาพร ส. (2023). โปรแกรมการฟื้นฟูหลังผ่าตัดส่องกล้องซ่อมเอ็นไหล่ฉีกขาด. Region 11 Medical Journal, 37(3), 47–59. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/264281

Issue

Section

Academic article