ผลการให้ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพจิตแก่ครูพี่เลี้ยง

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา จันทร์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • สุนทรี ขะชาตย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพจิต, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

ศูนย์การศึกษาพิเศษ มีครูพี่เลี้ยงที่มีหน้าที่ช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กพิเศษ และยังมีส่วนช่วยดูแลให้คำปรึกษา แก่ผู้ดูแลเด็กพิเศษด้วยเช่นกัน เนื่องจากเห็นว่าผู้ดูแลเด็กพิเศษต้องอยู่กับเด็กพิเศษตลอดเวลา ไม่ได้มีเวลาส่วนตัวและเวลา พักผ่อนได้เต็มที่ ย่อมส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ดูแลเด็กพิเศษได้ ดังนั้นการให้ความรู้ด้านการสร้างเสริม สุขภาพจิตแก่ครูพี่เลี้ยง ซึ่งครูพี่เลี้ยงนำความรู้จากการอบรมการสร้างเสริมสุขภาพจิตครั้งนี้ไปปฏิบัติใช้กับผู้ดูแลเด็กพิเศษ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตของผู้ดูแลเด็กพิเศษได้ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ก่อนและหลังการอบรมเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพจิตแก่ครูพี่เลี้ยง ผู้วิจัยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นครูพี่เลี้ยงของศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 5 จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 33 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) การวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ร้อยละ และสถิติที (t-test)

ผลการศึกษาพบว่า หลังจากได้รับการอบรมการสร้างเสริมสุขภาพจิตแก่ครูพี่เลี้ยง โดยมีชุดความรู้ตามกิจกรรมดังนี้ การผ่อนคลายความเครียดโดยโยคะ หัวเราะคลายเครียด การค้นหาสุขภาพจิตเบื้องต้นและวิธีการสร้างเสริมสุขภาพจิต พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมการสร้างเสริมสุขภาพจิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และมีความพึงพอใจต่อการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X} = 4.53 , SD = 0.56) โดย มีความพึงพอใจสูงที่สุดในด้านบุคลากร ผู้ให้บริการ/ผู้จัดอบรม/วิทยากร ( gif.latex?\bar{X} = 4.63 , SD = 0.52)

ผลการวิจัย ศูนย์การศึกษาพิเศษ สามารถนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการพัฒนาชุดความรู้การสร้างเสริม สุขภาพจิตแก่ครูพี่เลี้ยงเพื่อนำไปปฏิบัติใช้กับผู้ดูแลเด็กพิเศษให้มีประสิทธิภาพต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. กระทรวงศึกษาธิการ.

จิระวรรณ ศรีจันทร์ไชย. (2556). การดูแลเด็กที่มีภาวะพร่อง. วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

ชะไมพร พงษ์พานิช, สมดี อนันต์ปฏิเวธ, ประภาพันธ์ ร่วมกระโทก, และ สมหมาย เศรษฐวิชาภรณ์. (2555). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะครอบครัวสาหรับผู้ปกครองและผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิสติกตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22, 11-25.

นัทธ์ชนัน จรัสจรุงเกียรติ, อลิสา วัชรสินธุ. (2556). คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กที่เป็นโรคในกลุ่มออทิสติกสเปกตรัมและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยราชานุกูล, 58, 233-244.

ผ่องศรี งามดี. (2550). การศึกษารูปแบบสาหรับพยาบาลศูนย์สุขภาพชุมชนในการดูแลเด็กออทิสติกแบบองค์รวม โดยเน้นสุขภาพจิตผู้ปกครอง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วรรณนภา ด่านธนวานิช, ดาราวรรณ ต๊ะปินตา, ขวัญพนมพร ธรรมไทย. (2553). ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญา. วารสารพยาบาลสาร, 37, 129-140.

สุภาพ ชุณวิรัตน์. (2553). ความชุกของภาวะซึมเศร้าและแรงสนับสนุนทางสังคมของมารดาเด็กออทิสติก อายุ 3-5 ปี ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล. วารสารราชานุกูล, 2, 28-37.

สถาบันราชานุกุล. (2555). คู่มือครู ระบบการดูแลนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้. บริษัท บียอนด์ พับ ลิสซิ่ง จากัด.

อัญนิษฐ์ ทองประเสริฐ. (2553). ผลของโปรแกรมกลุ่มในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมเด็กออทิสติก: กรณีศึกษาผู้ดูแลเด็กของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

อรุณี พันธุลี. (2548). ผลของกลุ่มให้ความรู้และประคับประคองทางจิตใจต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กออทิสติก สุขภาพจิตและความรู้สึกเป็นภาระการดูแลของผู้ปครอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

อัศวิน นาคพงศ์พันธ์. (2554). ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมในการดูแลต่อความเครียดของผู้ปกครองเด็กออทิสติกในสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสวนปรุง, 27, 8-17.

Ashman A. & Elkins J. (1994). Educating children with special needs (2nded.). New York ; Sydney : Prentice Hall.

Chang, H.Y., Chiou, C.J., & Chen, N.S. (2010). Impact of mental health and caregiver burden on family caregivers’ physical health. Archives of Gerontology and Geriatrics, 50, 267-271.

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York : Harper Collins Publishers Inc.

Edelman, C.L. & Mandle, C.L. (2006). Health promotion throughout the lifespan (6thed.). St. Louis: Mosby YearBook, Inc.

Mendenhall, A. & Mount, K. (2011). Parents of children with mental illness : exploring the caregiver experience and caregiver-focused interventions. Families in Society: The Journal of Contemporary Social Services, 92, 183-190

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01