แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
พยาบาลวิชาชีพ, การพัฒนาตนเอง, แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพ 2) การพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใน การพัฒนาตนเองกับการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพ 4) เปรียบเทียบคะแนนแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองและคะแนนการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามชุก ตามตัวแปรที่กาหนด กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสามชุก แบบเจาะจง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง และ 3) การพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-Test ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า (1) แรงจูงใจภาพรวมของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.55, S.D. = 0.809) (2) การพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.23,S.D. =0.752) (3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพ พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวก (r= 0.681) (4) พยาบาลวิชาชีพที่มีอายุ ประสบการณ์การทำงาน รายได้ประจำเดือน ที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองไม่แตกต่างกัน ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) พยาบาลวิชาชีพที่มีอายุ ประสบการณ์การทำงาน รายได้ประจำเดือน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีการพัฒนาตนเองไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะในการศึกษา โรงพยาบาลและองค์กรพยาบาลควรมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ครอบคลุมในการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพ
References
ติลลยา อินดร. (2553). ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถของตนเองและการพัฒนาตนเองของพยาบาลโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. (ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์กร, คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
นมิตา ชูสุวรรณ. (2554). ความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์).
นวะรัตน์ พึ่งโพธิ์สภ. (2552). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะ ศาสตรมหาบัณฑิต พัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร.(2550). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์กรพยาบาลในศตวรรษที่ 21 พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณรัตน์ พากเพียร. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีมต่อการจัดการคุณภาพ โดยองค์รวมของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านการรับรองคุณภาพ. พยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
ละออ นาคกุล. (2556). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรในโรงพยาบาลรามาธิบดี.(วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล).
วนิดา ลีเลิศไพศาล.(2551). การพัฒนาตนเองของพยาบาลผู้ชำนาญการ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
สุนิษา กลึงพงษ์.(2556). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ปริญญานิพนธ์ กศม. (การอุดมศึกษา) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
สุพานี สฤษฎร์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรัตนา จงรักษ์. (2557). แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัท ABC. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
หทัยกาญจน์ เยาวบุตร. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองกับการรับรู้คุณค่าแห่งตนของพยาบาลวิชาชีพ. (สารนิพนธ์(กศ.ม.) (จิตวิทยาการแนะแนว) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
Chen, c. (2012). Modeling and initiating Knowledge management Program using FQFD : a case study involving a healthcare institute . Springer, 46, 889-919.
Kyndt, E., Dochy, F. Michielsen, M.& Moeyaert, B. (2009). Employee Retention : Organizational and Personal Perspectives. Vocations and Learning, 2(3), 192-215.
Fox, E. (2007). Professional development : From technophobes to teach believers. T.H.E. Journal. 34(7), 36-37 (Online). Available: http://www.eric.ed.gor.(2007, July)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว