รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง: กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคมิวโคพอลิแซ็กคาร์ริโดซิส ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจชนิด ไบแพพ โรงพยาบาลดอนเจดีย์

ผู้แต่ง

  • กัญญา อติยศพงศ์ โรงพยาบาลดอนเจดีย์
  • รุ่งณภา อยู่ระหัส โรงพยาบาลดอนเจดีย์

คำสำคัญ:

ไบแพพ, เครื่องช่วยหายใจชนิด, มิวโคพอลิแซ็กคาร์ริโดซิส, การดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการกรณีศึกษา (Case studies) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยโรคมิวโคพอลิแซ็กคาร์ริโดซิส ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจชนิด ไบแพพ ที่เจ็บป่วยเรื้อรังในระยะสุดท้าย ในโรงพยาบาลดอนเจดีย์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายและญาติ ทีมสุขภาพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาลรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ ระยะเวลาในการศึกษาเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2559 – มิถุนายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินรับผู้ป่วยไว้ดูแล แบบบันทึกปัญหาทางคลินิก การให้คาปรึกษา การสื่อสารระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ แบบประเมินการดูแลผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต แบบประเมินคุณภาพชีวิต แบบประเมินความพึงพอใจของญาติ ประเมินผลสรุปผลรูปแบบการดูแลแบบประคับประคองประเมินผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย ครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้สถิติร้อยละ โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคมิวโคพอลิแซ็กคาร์ริโดซิส ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดไบแพพ แบบประคับประคอง มีความต่อเนื่องตั้งแต่แรกวินิจฉัยภาวะเจ็บป่วยเข้าสู่ระยะสุดท้ายจนถึงหลังการสูญเสีย ประกอบด้วย การสร้างสัมพันธภาพเพื่อความไว้วางใจ การดูแลด้านร่างกาย วัฒนธรรม สังคม สุขภาพจิตและจิตเวช จิตวิญญาณและจริยธรรม

ผลลัพธ์การดูแล พบว่า ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตระดับดีมากร้อยละ 95.3 ครอบครัวมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการดูแลแบบประคับประคองระดับมากร้อยละ 95 รูปแบบการดูแลที่พัฒนาขึ้น ได้ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติดีขึ้น ดังนั้นจึงควรนำรูปแบบการดูแลนี้ไปใช้ดูแลผู้ป่วยโรคมิวโคพอลิแซ็กคาร์ริโดซิส ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ ชนิด ไบแพพ

References

พรพรรณ์ สมบูรณ์. (2552). การประเมินคนพิการเพื่อแนะนำเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ปอทม.ประจำปี 2552. โรงแรมรอยัลริเวอร์, กรุงเทพ.

สุมาลี นิมมานนิตย์. (2550). ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะใกล้ตาย . กรุงเทพ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.

ศากุน ปวีณวัฒน์ และ อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. (2552). เอกสารการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสำหรับญาติ : การประชุมวิชาการ 4 ทศวรรษรามาธิบดี.

อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช. (2554). การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว.

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2556). โรคพันธุกรรมแอลเอสดี เฝ้ารอหวังและโอกาส.Retrieved from http.//www.thairath.co.th/content /387521

อัจฉรา เสถียรกิจการชัย. (2005). โรคพันธุกรรม LSD ชนิดสารมิวโคโพลีแซคคาริโดซิสคั่ง(Mucopolysaccharidosis,MPS). สืบค้นจาก http://www.lsdthailand.com /lsd/index.php/ct-menu-item-5/ct-menu-item-6.

ศูนย์ปรึกษาอาการกรนและหยุดหายใจ. (2015). เครื่องช่วยหายใจ BIPAP.สืบค้นจาก https:// www.perfectcare2u.com/15749707/bipap.

ACP. Archived from the original on 9 September 2015. Retrieved 9 February 2016.

Biscoe, M. (2010). How to take care of muscle injury,http://wwwlivestrong.com/article/211662-how-to-take-care-of-a-muscle-injury/(April 7).

Center on Disabilities and College of Extended Learning , California State University Northridge. (2004). Assistive Technology Applications Certificate Program. Training Workbook.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01