คุณภาพชีวิตของคนพิการจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์ ภาควิชาการพยาบาลชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • จิรพรรณ โพธิ์ทอง ภาควิชาการพยาบาลชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • สุนิสา จันทร์แสง ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

จังหวัดสุพรรณบุรี, คนพิการ, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบคุณภาพชีวิตของคนพิการแต่ละประเภทในจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือคนพิการทุกประเภทในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการจดทะเบียนคนพิการและมีรายชื่อ ในฐานข้อมูลทะเบียนคนพิการจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 395 คนสุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้ตารางเลขสุ่ม (Random number table) เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย WHOQOL – BREF – THAI (WHO, 1993) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคุณภาพชีวิตของผู้พิการ แต่ละประเภท โดยใช้สถิติ One – Way ANOVA

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย (ร้อยละ 56.2) อายุเฉลี่ย 50.69 ปี ระดับการศึกษาส่วนมากอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 56.2) สถานภาพสมรสเป็นโสด ร้อยละ 46.3 ส่วนมากไม่ได้ประกอบอาชีพ (ร้อยละ 94.7) ส่วนมากอาศัยอยู่กับครอบครัว มีผู้ช่วยเหลือ และอยู่ในเขตชนบท (ร้อยละ 94.4, 50.1 และ74.4 ตามลาดับ) และมากกว่าครึ่งเข้าถึงการรักษาพยาบาล (69.4%) คนพิการทุกประเภทโดยรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 83.26 gif.latex?\pm13.35) ในทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (คะแนนเฉลี่ย 21.53 gif.latex?\pm 4.36, 19.23 gif.latex?\pm 3.65, 10.46 gif.latex?\pm 2.23 และ 26.60 gif.latex?\pm 4.22 ตามลำดับ) จำแนกตามประเภทของความพิการพบว่า คนที่มีความพิการทางการได้ยินมีคะแนนคุณภาพชีวิตสูงที่สุด (คะแนนเฉลี่ย 86.41) เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตโดยจำแนกตามประเภทความพิการ พบว่า มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่า คนพิการมากกว่า 1 ประเภท มีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคนพิการทางการได้ยิน (p = .20) และคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางกาย (p = .04) ในขณะที่ประเภทอื่นไม่มีความแตกต่างกัน

References

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.(2559). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์.

คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์. คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดสุพรรณบุรี. (2558). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดสุพรรณบุรี พศ. 2557-2558. สุพรรณบุรี: สอิ้งการพิมพ์.

จิรพรรณ โพธิ์ทอง. (2557). ประสิทธิผลรูปแบบการฟื้นฟูสภาพคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวในชุมชน. วารสารพยาบาลกองทัพบก,15 (2)พ.ค. - ส.ค. 232-241.

ชาญ สุปินะ. (2555). บทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.วิทยานิพนธ์ รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธานีรัตน์ ผ่องแผ้ว. (2558). คุณภาพชีวิตคนพิการขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช : ปัจจัยที่มีผลและแนวทางการพัฒนา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์.

รัตนา ทรัพย์บาเรอ. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข. กรุงเทพ: โอเดียนสโตร์.

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. (2559). รายงาน สรุปผลการดำเนินโครงการสำรวจคุณภาพชีวิตคนพิการไทย. เอกสารอัดสำเนา

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดี วิถีไทย 2554-2564. เอกสารอัดสำเนา.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). บทบาทภาครัฐเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. กรุงเทพมหานคร:บริษัทสามเจริญพาณิชย์ จำกัด.

ศศินันท์ วาสิน, ฤาเดช เกิดวิชัย และวรางคณา จันทร์คง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed.). New Jersey: Peason Education.

Maes, B. Lambreches, G. Hostyn, I. and Petry,K., ( 2007). Quality-enhancing interventions for people with profound intellectual and multiple disabilities: A review of the empirical research literature. Journal of Intellectual & Developmental Disability, September 2007.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality. (2 nd ed.) New York. Harper& Row.

Vankova, D. and Mancheva, M. (2015) Quality of life of individuals with disabilities concepts and concerns. Scripta Scientifica Salutis Pbulicae.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01