การออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นฐาน ทักษะการคิดสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและปรับตัว รู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยี รักการเรียนรู้ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา มีทักษะอาชีพและทักษะชีวิตสามารถอยู่รอดในสังคมได้ ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนต้องมีการพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นฐานเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ช่วยพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการสื่อสาร และทักษะการค้นคว้าความรู้ ซึ่งทักษะเหล่านี้มีความจำเป็นในทุกวิชาชีพ ในวิชาชีพพยาบาลได้มีการนำรูปแบบการสร้างสรรค์เป็นฐานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ให้แก่นักศึกษาพยาบาล ให้นักศึกษาพยาบาลสามารถคิดสร้างสรรค์ผลิตผลงานในชั้นเรียน สามารถค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ใหม่ และต่อยอดพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลอันเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการสื่อสารที่ดี ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างมากสำหรับวิชาชีพพยาบาล เนื่องจากวิชาชีพยาบาลจำเป็นต้องทำงานกับสหวิชาชีพ มีการติดต่อประสานงานกันตลอดเวลา ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นฐานจึงเป็นเสมือนพื้นฐานในการสร้างผลงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพทางการพยาบาลให้มีความก้าวหน้าต่อไป
References
กลุ่มความรู้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา (2563). คู่มือองค์ความรู้การจัดการเรียน แบบ Active Learning ด้วยวิธีการ CBL (Creativity Based Learning). สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2565, จากวิกิพิเดีย https://elcls.ssru.ac.th
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. (2563). การจัดการความรู้การสอน แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน CBL. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2565, จากวิกิพิเดีย https://human.pcru.ac.th
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ พิเศษ 1 ง, หน้า 7-19.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และวรวรรณ นิมิตพงษ์กุล. (2562). สอนสร้างสรรค์ เรียนสนุกยุค 4.0. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 23-37.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2562). สอนสร้างสรรค์เรียนสนุกยุค 4.0+. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21. คุรุสภาวิทยาจารย์, 2(1), 1-15.
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2560). กระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานในกระบวนวิชา CEE2205 (ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก). วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(2), 1-8.
สุนทรีภรณ์ ทองไสย. (2558). พยาบาลกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(1), 112-119.
อนรรฆ สมพงษ์ และลดาวัลย์ มะลิไทย. (2560). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity Based Learning: CBL) ในรายวิชาการศึกษาเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2565, จากวิกิพิเดีย https://www.slideshare.net
Amabile, T. M. (2013). Componential theory of creativity. Retrieved from http://www.hbs.edu/ faculty/Publication% 20Files/12-096.pdf
Hopper M.K. (2018). Alphabet Soup of Active Learning: Comparison of PBL, CBL, and TBL. HAPS Educator, 22(2): 144-149. doi: 10.21692/haps.2018.019
Phuangphae, P. (2017). Creativity-based learning in Social Studies. International (Humanities, Social Sciences and Arts), 10(5), 365-374.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว