การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ในรายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช สําหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ คณึงเพียร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ธิดา มุลาลินท์
  • อารยา จิรมนัสวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • วิลาวัณย์ กล้าแรง
  • รุจิสรร สุระถาวร

คำสำคัญ:

วิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, โปรแกรม

บทคัดย่อ

         การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงในชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ในปีการศึกษา 2565 ที่มีความยินดีเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เครื่องมือการวิจัย    แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ 2) แบบสอบถาม ได้แก่ 1) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามวิจัย ได้ค่า 0.80, 0.96 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที paired t- test

          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานฯ ตามแนวคิดของคาเมนท์ (carmen, 2005) ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1. บรรยายแบบมีส่วนร่วมและการเรียนรู้จากสื่อออนไลน์โดยผู้เรียนและผู้สอนอยู่ร่วมกันในเวลาเดียวกัน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบออนไลน์ ร้อยละ 40 บรรยายในห้องเรียน ร้อยละ 60 2. บทเรียนบน google classroom 3. การวิเคราะห์กรณีศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการพยาบาลโดยใช้หลักฐายเชิงประจักษ์ 4. ทำแบบทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค ศึกษาค้นคว้าในฐานข้อมูลออนไลน์ และพบว่า 1) นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้สมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช หลังการใช้โปรแกรมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลอง  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 ขึ้นไป เป็นจำนวนสูงสุดคือ การสอบปลายภาค (ร้อยละ 91.35; 95 คน) รองลงมาคือ การสอบกลางภาค (ร้อยละ 76.08 ;79 คน) ตามลำดับ  

        สรุปได้ว่า การใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานสามารถส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนั้นควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานไปใช้ในการเตรียมความพร้อมการปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

References

กัลยาณี ตันตรานนท์, วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์และธานีแก้วธรมา.(2561).การประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในกระบวนวิชาวิทยาการระบาด.พยาบาลสาร, 45(1), 100-109.

กลุ่มวิชาการ. (2564). รายงานการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

ปิยนุช ชูโต,ศรีมนา นิยมค้าและจันทร์ฉาย โยธาฤทธิ์. (2557). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 7(4), 156-167.

ธิดารัตน์ คณึงเพียร. (2564). มคอ 3 วิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

ไพรวัลย์ โคตรตะ, สุวิมล โพธิ์กลิ่นและ อภิชัย กรมเมือง. (2560). อนาคตภาพของการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในบริบทประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 18-27.

สุสัณหา ยิ้มแย้มและคณะ. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร, 42 (ฉบับพิเศษ), 129-140.

วิภาดา คุณาวิกติกุล. (2553). การเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ในยุคศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร,

อติญาณ์ ศรเกษตริน สุทธานันท์ กัลกะ ทัศนีย์ เกริกกุลธร อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ อัจฉรา สุขสำราญ. (2566)การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ราชาวดีสาร, 13(2), 149-164.

อรวรรณ จุลวงษ์ พจนา เปลี่ยนเกิด สมพิศ เกิดศิริ และ อัญธิดา สระแก้ว. (2556). การสร้างเครื่องมือวัดสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(3), 50-8.

COMAS-QUINN, A. Learning to teach online or learning to become an online teacher: an exploration of teachers’ experiences in a blended learning course. European Association for Computer Assisted Language Learning, 23(3), 218–232. .doi.org/10.1017/S0958344011000152,

Carman, J.M. (2005). Blended Learning Design: Five Keys Ingredients. http://www.agilantlearning.com/pdf/Blended%20L.pdf.

Gagnon, M., Gagnon,J., Desmartis, M and Njoya M. (2013). The Impact of Blended Teaching on Knowledge, Satisfaction, and Self-Directed Learning in Nursing Undergraduates: A Randomized, Controlled Trial. Nursing Education Perspectives, 36 (4), 377-382.

Jeffrey, L. M., Milne, J., Suddaby. G., & Higgins, A. (2014). Blended learning: How teachers balance the blend of online and classroom components. Journal of Information Technology Education: Research, 13, 121-140. Retrieved from http://www.jite.org/documents/Vol13/JITEv13ResearchP121-140Jeffrey0460.pdf

Jokinen, P., & Mikkonen, I. (2013). Teachers' experiences of teaching in a blended learning environment. Nurse education in practice, 13(6), 524–528. https://doi.org/10.1016/j.nepr.2013.03.014

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03