โครงการวิจัยประสิทธิผลของหนังเทียมซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยฝึกฝนทักษะการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังแท้

ผู้แต่ง

  • Thanya Techapichetvanich Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol Unviersity
  • Rungsima Wanitphakdeedech Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol Unviersity
  • Yanin Nokdhes Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol Unviersity
  • Poramin Patthamalai Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol Unviersity
  • Inneke Jane Hidajat Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol Unviersity
  • Natchaya Junsuwan Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol Unviersity
  • Weeranut Phothong Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol Unviersity
  • Sasima Eimpunth Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol Unviersity
  • Woraphong Manuskiatti Department of Dermatology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol Unviersity

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ช่วยฝึกฝนทักษะ, ประสบการณ์และทักษะ, การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังแท้

บทคัดย่อ

อุปกรณ์ฝึกทักษะหัตถการเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมทักษะแก่นักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้านก่อนการทำหัตถการในผู้ป่วยจริง การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังเป็นหัตถการที่พบบ่อยในสาขาตจวิทยา กุมารเวชศาสตร์ และสาขาอื่นๆ เนื่องด้วยอุปกรณ์ฝึกการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังที่ขายตามท้องตลาดมีราคาสูง ทางทีมผู้วิจัยจึงประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ฝึกการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังเพื่อใช้ทดแทนอุปกรณ์ดังกล่าว วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ฝึกการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังจากยางพารา วิธีการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยแต่ละคนจะได้รับแบบสอบถามประเมินตนเองและแบบประเมินความพึงพอใจก่อนและหลังการฝึกทักษะด้วยอุปกรณ์ฝึกการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง โดยในแบบสอบถามได้ชี้แจงและให้ผู้เข้าร่วมวิจัยเลือกคำตอบเป็นตัวเลขบ่งปริมาณ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ถึง 10 โดยหมายถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่เห็นด้วยมาก ไม่เห็นด้วย ค่อนข้างไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยบ้าง เฉยๆ เห็นด้วยบ้าง ค่อนข้างเห็นด้วย เห็นด้วย เห็นด้วยมาก และเห็นด้วยอย่างยิ่ง ตามลำดับ หลังจากผ่านการเรียนแล้ว ผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้ฝึกฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังผู้ป่วยจริงภายใต้การดูแลและประเมินโดยตจแพทย์ ผลการศึกษา: หลังผู้เข้าร่วมวิจัยเข้ารับการเรียนการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังกับอุปกรณ์ช่วยฝึกฝนทักษะการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังแท้ พบว่ามีความมั่นใจมากขึ้นและทักษะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผู้เข้าร่วมวิจัยมีความพึงพอใจอย่างมากต่ออุปกรณ์ช่วยฝึกฝนทักษะการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง และเห็นสมควรว่าควรแนะนำให้ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ฝึกฝนการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังแท้ด้วยอุปกรณ์ช่วยฝึกฝนทักษะนี้ ผู้เข้าร่วมวิจัยต่างเห็นว่าอุปกรณ์ช่วยฝึกฝนทักษะการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังแท้เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยที่ดีสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการฉีดยา ใช้ง่าย และมีประโยชน์ในการประยุกต์กับผู้ป่วยได้จริง ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถฉีดในผู้ป่วยจริงได้อย่างถูกต้อง โดยพบตุ่มนูนขนาดเล็กที่ประเมินโดยตจแพทย์ว่าเป็นตำแหน่งและระดับความลึกที่เหมาะสม สรุปผล: อุปกรณ์ฝึกทักษะหัตถการเป็นอุปกรณ์ที่เรียนรู้ง่าย ราคาไม่แพง แต่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยส่งเสริมทักษะได้ผู้ที่ยังไม่มีความชำนาญเพียงพอได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี คุณภาพของหนังเทียมที่ใช้ในการทำอุปกรณ์ฝึกทักษะหัตถการควรจะได้รับการศึกษาและพัฒนาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับหัตถการทางผิวหนังอื่นๆอีกต่อไป

References

1. Tierney EP, Hanke CW. Recent trends in cosmetic and surgical procedure volumes in dermatologic surgery. Dermatol Surg. 2009; 35: 1324-33.

2. Ahn CS, Davis SA, Dabade TS, Williford PM, Feldman SR. Cosmetic procedures performed in the United States: a 16-year analysis. Dermatol Surg. 2013; 39: 1351-9.

3. Group A, Philips R, Kelly E. Cosmetic Dermatology Training in Residency: Results of a Survey from the Residents’ Perspectives. Dermatol Surg. 2012; 38: 1975-80.

4. Freeman SR, Greene RE, Kimball AB, et al. US dermatology residents’ satisfaction with training and mentoring: survey results from the 2005 and 2006 las Vegas dermatology seminars. Arch Dermatol. 2008; 144: 896-900.

5. Freiman A, Barzilai DA, Barankin B, Natsheh A, Shear NH. National appraisal of dermatology residency training a Canadian study. Arch Dermatol. 2005; 141: 1100-4.

6. Reid DC, Kimball AB, Ehrlich A. Medical versus surgical dermatology: how much training do residents receive? Dermatol Surg. 2006; 32: 597.

7. Lee EH, Nehal KS, Dusza SW, Hale EK, Levine VJ. Procedural dermatology training during dermatology residency: a survey of third-year dermatology residents. J AM Acad Dermatol. 2011; 64: 475-83.

8. Owen H. Early use of simulation in medical education. Simul Health. 2012; 7: 102-16.

9. Acton RD. The evolving role of simulation in teaching in undergraduate medical education. Surg Clin N Am. 2015; 95: 739-50.

10. Hammound MM, Nuthalapaty FS, Goepfert AR, et al. To the point: medical education review of the role of simulators in surgical training. Am J Obstet Gynecol. 2008; 199: 338-43.

11. Yang S, Kampp J. Common Dermatologic Procedures. Med Clin North Am. 2015; 99: 1305- 21.

12. Sachdeva AK. Establishment of American College of Surgeons-accredited Education Institutes: the dawn of a new era in surgical education and training. J Surg Educ. 2010; 67: 249-50.

13. Drosdeck J, Carraro E, Arnold M, et al. Porcine wet lab improves surgical skills in third year medical students. J Surg Res. 2013; 184: 19-25.

14. Buckley CE, Kavanagh DO, Traynor O, Neary PC. Is the skillset obtained in surgical simulation transferable to the operating theatre? Am J Surg. 2014; 207: 146-57.

15. Scott DJ, Pugh CM, Ritter EM, et al. New directions in simulation-based surgical education and training: validation and transfer of surgical skills, use of nonsurgeons as faculty, use of simulation to screen and select surgery residents, and long-term follow-up of learners. Surgery. 2011; 149: 735-44.

16. Colt HG, Davoudi M, Murgu S, Zamanian Rohani N. Measuring learning gain during a one-day introductory bronchoscopy course. Surg Endosc. 2011; 25: 207-216.

17. Kolozsvari NO, Feldman LS, Vassiliou MC, Demyttenaere S. Hoover ML. Sim one, do one, teach one: considerations in designing training curricula for surgical simulation. J Surg Educ. 2011; 68: 421-7.

18. Friedell ML. Starting a simulation and skills laboratory: what do I need and what do I want? J Surg Educ. 2010; 67: 112-21.

19. Graziano SC. Randomized surgical training for medical students: resident versus peer-led teaching. Am J Obstet Gynecol. 2011; 204: 542.e1-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04

How to Cite

Techapichetvanich, T., Wanitphakdeedech, R., Nokdhes, Y., Patthamalai, P., Hidajat, I. J., Junsuwan, N., Phothong, W., Eimpunth, S., & Manuskiatti, W. (2018). โครงการวิจัยประสิทธิผลของหนังเทียมซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยฝึกฝนทักษะการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนังแท้. วารสารโรคผิวหนัง, 34(2), 99–110. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJD/article/view/158935