การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสีผิวบริเวณใน-นอกร่มผ้าในเชิงปริมาณ กับการจำแนกสีผิวตามความไวแสงในคนไทย
คำสำคัญ:
สีผิว, การวัดสี, เครื่องวัดสีบทคัดย่อ
การจําแนกสีผิวตามความไวแสง (skin phototype) มีความสําคัญสําหรับแพทย์ผิวหนังเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ การประเมินความเสี่ยงต่อโรคบางชนิด การประเมินค่าพลังงานแสงแดดและเลซอร์ก่อนทําการรักษา การประเมิน skin phototype ตามมาตรฐาน ด้วยการทํา minimal erythema dose (MED) นั้นมีความยุ่งยาก และใช้เวลานานในการแปลผล จึงมีความพยายามที่จะประเมินด้วยวิธีอื่นๆ ที่สะดวกมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์ผิวหนังมักเป็น ผู้ประเมินเอง การศึกษานี้จึงทําเพื่อหาวิธีที่จะเปรียบเทียบ skin phototype ด้วยวิธีต่างๆ ทั้งโดยการใช้แบบสอบถามให้ผู้ป่วยตอบ, การประเมินของแพทย์ และการวัดด้วยเครื่องวัดสี (colorimeter) การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง สํารวจผู้ป่วย จํานวน 336 คน โดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถาม จําแนก skin phototype ของตนเองด้วย Fitzpatrick Skin Score questionnaire, จากนั้นให้แพทย์ประเมิน skin phototype ของผู้ป่วย และทําการวัดสีผิวทั้งใน และ นอกร่มผ้า ด้วยเครื่อง colorimeter และนํามาเปรียบเทียบกับ skin phototype ที่แพทย์แบ่งกลุ่มไว้ ผลการศึกษาพบว่า แบบสอบถามการจําแนก skin phototype ที่ให้ผู้ป่วยตอบ เพื่อแยกสีผิวด้วยตนเอง (Fitzpatrick Skin Score questionnaire) กับที่แพทย์ประเมินไว้นั้น มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และเมื่อนําค่า colorimeter ที่วัดได้ มาจําแนกกลุ่มตาม skin phototype ที่แพทย์แบ่งไว้ ก็พบว่า สามารถนําค่า colorimeter หลายค่า มาใช้ในการแบ่งกลุ่มได้เช่นกัน โดยเฉพาะค่า melanin index น่าจะเป็นตัวที่ใช้แบ่งกลุ่มได้ดีที่สุด
References
2. Pathak MA Fanselow DL Photobiology of melanin pigmentation dose response of skin to sunlight and its contents. J Am Acad Dermatol 1983;9:724-32.
3. Rubegni P, Cevenini G, Barbini P et al. Quantitative characterization and study of the relationship between constitutive-facultative skin color and phototype in Caucasians. Photochem Photobiol 1999,70:303-7.
4. Rubegni P, Cevenini G, Flori ML et al. Relationship between skin color and sun exposure history: a statistical classification approach. Photochem Photobiol 1997; 65: 347- 51.
5. Choe YB, Jang SJ, Jo SJ, Ahn KJ, Youn JI. The difference between the constitutive and facultative skin color does not reflect skin phototype in Asian skin. Skin Res Technol 2006;12:68-72.
6. Reeder AI, Hammond VA, Gray AR. Questionnaire items to assess skin color and erythemal sensitivity: reliability, validity, and “the dark shift”. Cancer Epidermiol Biomarkers Prev 2010;19: 1167-73.
7. Galindo GR, Mayer JA, Slymen D et al. Sun sensitivity in 5 US ethnoracial groups. Cutis 2007;80:25-30.
8. Sachdeva S. Fitzpatrick skin typing: Applications in dermatology. Indian J Dermatol Venereol Leprol 2009;75:93-6.
9. Australian radiation protection and nuclear safety agency [Internet]. Australia: Australian radiation protection and nuclear safety agency [cited 2015 Sep 21]. Available from: http://www.arpansa.gov.au/pubs/RadiationProtec tion/FitzpatrickSkinType.pdf
10. Taylor S, Westernhof W, Im S, Lim J. Noninvasive techniques for the evaluation of skin color. J Am Acad Dermatol 2006;54(5 Suppl 2):S282-90.
11. Andreassi L, Flori L. Practical applications of cutaneous colorimetry. Clin Dermatol 1995;13:369-73.
12. Clarys P, Alewaeters K, Lambrecht R, Barel AO. Skin color measurement: comparison between three instruments: the Chromameter® , the DermaSpectrometer® , and the Mexameter® . Skin Res Technol 2000;6:230-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารโรคผิวหนัง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารโรคผิวหนัง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากบรรณาธิการวารสารโรคผิวหนังก่อนเท่านั้น